รถแท็กซี่’ ขอปรับขึ้นค่าโดยสารในรอบ 8 ปี
เขียนโดย: มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค
เขียนเมื่อ: 29-09-2022 15:12
หมวดหมู่: บริการขนส่งและยานพาหนะ



รถแท็กซี่’ ขอปรับขึ้นค่าโดยสารในรอบ 8 ปี
**ปัญหา "แท็กซี่" เหมือน "พายเรือวนในอ่าง" ทั้งจากข้อร้องเรียนของผู้ใช้บริการที่มักถูกปฏิเสธบ่อยครั้ง ข้อร้องเรียนเรื่องมารยาท หรือคุณภาพการบริการ ที่เรียกได้ว่าแทนที่จะอำนวยความสะดวกสบายในการเดินทาง กลับเจอปัญหาจุกจิกกวนใจของผู้โดยสารมากมายแบบที่ไม่ต้องสาธยายให้มากความ
ผู้ใช้บริการในฐานะผู้บริโภค คิดยังไง? เมื่อ ‘รถแท็กซี่’ ขอปรับขึ้นค่าโดยสารในรอบ 8 ปี โดยยกข้ออ้าง “ราคา”ไม่สะท้อนกับสภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน.. แต่บริการสุดย่ำแย่, ส่วนแท็กซี่ เขาก็มีข้ออ้างมาตีโต้
แท็กซี่ไม่รับโดยสาร เป็นปัญหาสุดคลาสสิคทุกยุคทุกสมัย ยิ่งตอนฝนตกด้วยแล้วเปิดไฟสว่างจ้า แต่ไม่รับ และนี่คือตัวอย่าง
ผู้โดยสาร
ฝนตกหนักพยายามโบกเรียกแท็กซี่ จากย่านสี่แยกอโศก เพื่อจะนั่งโดยสารไปยัง “วัดคลองเตยนอก” ซึ่งดูจากแผนที่ในแอพพลิเคชัน ใช้เวลาเพียง 14 นาทีจากจุดที่ตัวเขาอยู่ แต่ปรากฏว่าเรียกแท็กซี่เท่าไหร่ก็ไม่มีคันไหนรับเลย จนเจ้าของคลิปนับได้คร่าวๆ ทุบสถิติผ่านไป 23 คัน ‘ไม่รับ’มีใครให้มากกว่านี้มั้ย! แถมโดนวีนใส่อีก ดีนะ คันที่ 24 รับ ทำชาวเน็ตลั่นเซอร์วิสเป็น 0 แต่จะขอขึ้นรับค่าบริการ...
สมาคมแท็กซี่ไทย
เผยกฎหมายห้ามแท็กซี่ปฎิเสธผู้โดยสารอาจเข้าข่ายมิชอบด้วยกฎหมายหลังปตท.ทยอยปิดปั้มNGVและคนขับประสบกับปัญหาสภาพคล่องในการเติมก๊าซ!!! เผย กฎหมายห้ามแท็กซี่ปฎิเสธผู้โดยสารอยู่ระหว่างแสวงหาข้อเท็จจริงจากผู้ตรวจการณ์แผ่นดินว่ามีความเหมาะสมชอบธรรมหรือไม่ภายใต้บริบทที่เปลี่ยนแปลงไป!!!
แท็กซี่ ผี👻อีกหนึ่งปัญหาที่สะสมมานานแก้ไขไม่หมด
สารพัดจะหาทำ ทั้งขูดรีดราคาคิดเหมาเท่านั้นมิเตอร์มีแต่ไม่อยากกดใช้ซะงั้น ผิดกฎหมายนะน่ะ แต่ก็ยังทำ
ผู้โดยสาร
เรียกรถแท็กซี่รับจ้างส่วนบุคคล ที่ไม่ใช่รถแท็กซี่ทั่วไป จากหมอชิต ไปส่ง ตลาดพลู ระยะทางรวมๆ ไม่เกิน 30 กิโลเมตร พอถึงที่หมาย กลับถูกแท็กซี่คิดค่าโดยสารถึง 800 บาท แต่เจอของแข็งคนไม่ยอมโวยแหลก เลยยอมลดราคาเหลือ300 ผู้โดยสารจึงอัดคลิปมาเตือนภัยให้ระวัง
สมาคมแท็กซี่ไทย
เรียกร้องยกเลิกมิเตอร์ค่าโดยสารหลังภาครัฐไม่สามารถทำให้การปรับอัตราค่าโดยสารทันต่อค่าครองชีพและราคาก๊าซในปัจจุบัน!!! ชี้ ควรยกเลิกระบบมิเตอร์และกฎหมายห้ามแท็กซี่ปฎิเสธผู้โดยสารเพื่อประโยชน์ต่อความเจริญและการพัฒนาประเทศ!!!
และยังมีประเด็นที่แท็กซี่เรียกร้องมาตลอดนั่นคือ การขอขึ้นค่าโดยสาร
สมาคมแท็กซี่ไทย
เผยไตรมาสสามรายได้คนขับส่วนใหญ่ยังเปราะบางแนะรัฐรีบพิจารณาขึ้นอัตราค่าโดยสารของแท็กซี่โดยเร็ว!!!ถามรัฐบาลทำไมแท็กซี่ถึงเป็นอาชีพเดียวในประเทศที่มีการปรับขึ้นราคาหลังสุดทั้งที่เป็นภาพลักษณ์ของประเทศ!!?
ซึ่งเรื่องนี้ มีเสียงตอบรับจาก กระทรวงคมนาคม
นายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ รองปลัดกระทรวงคมนาคม ในฐานะประธานคณะทำงานพิจารณาผลกระทบจากการปรับอัตราค่าจ้างบรรทุกคนโดยสาร สำหรับรถยนต์รับจ้างบรรทุกคนโดยสารไม่เกินเจ็ดคน (TAXI-METER) ที่จดทะเบียนในเขตกรุงเทพมหานคร (กทม.) บอกว่า ตั้งแต่ปี 2557-2565 รถแท็กซี่ยังใช้อัตราค่าโดยสารเดิม ซึ่งสวนทางกับอัตราค่าเชื้อเพลิงและค่าครองชีพที่ปรับสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องอีกทั้ง จากการศึกษา ของ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) พบว่า ประชาชนเดินทางด้วยระยะทางที่สั้นลง เที่ยววิ่งในการให้บริการเดินรถน้อยลง ส่งผลให้ต้นทุนการเดินรถสูงขึ้น รายได้ของผู้ขับรถแท็กซี่จึงลดน้อยลง เป็นผลให้จำนวนผู้ให้บริการรถแท็กซี่ลดน้อยลง** โดยมีรถแท็กซี่ที่ให้บริการจริงประมาณ 60,000 คัน/วัน จากจำนวนรถทั้งสิ้น 80,000 คัน หรือคิดเป็น 75% ของรถแท็กซี่ทั้งหมด ส่วนรายได้ของผู้ขับรถแท็กซี่มีทิศทางสวนทางกับค่าครองชีพในปัจจุบัน เมื่อเปรียบเทียบค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้นระหว่างปี 2557-2565 พบว่า มีอัตราเพิ่มสูงขึ้นประมาณ 7%
ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2565 ที่ผ่านมา กรมการขนส่งทางบก (ขบ.) ได้เปิดเวที รับฟังความคิดเห็น จากฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ผู้แทนภาคประชาชน คณะกรรมการบริหารร่วม 4 สมาคมผู้ขับรถแท็กซี่, มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค สภาองค์กรของผู้บริโภค สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน ซึ่งที่ประชุมเห็นด้วยกับการปรับขึ้นอัตราค่าโดยสารให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงดัชนีราคาผู้บริโภค (Core CPI) และคำนึงถึงความเป็นธรรมกับประชาชนผู้ใช้บริการ ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนของการดำเนินการด้านกฎหมาย และระเบียบต่างๆ คาดว่าจะพิจารณาดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2565
นายจิรุตม์ วิศาลจิตร อธิบดีกรมการขนส่งทางบก บอกว่า หากมีการพิจารณาปรับอัตราค่าโดยสาร ผู้ขับรถแท็กซี่ต้องพัฒนาคุณภาพด้านให้บริการประชาชน ห้ามปฏิเสธผู้โดยสาร โดยกรมการขนส่งทางบก จะนำระบบตัดแต้มรถโดยสารสาธารณะมาใช้กำกับ ควบคุมคุณภาพการให้บริการอย่างเข้มงวด