ไรเดอร์ กับ ผู้บริโภค เอาใจเขา มาใส่ใจเรา แพลตฟอร์ม ต้องช่วยหาทางออก!
เขียนโดย: มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค
เขียนเมื่อ: 16-11-2022 09:37
หมวดหมู่: สินค้าและบริการทั่วไป

ไรเดอร์ กับ ผู้บริโภค เอาใจเขา มาใส่ใจเรา แพลตฟอร์ม ต้องช่วยหาทางออก!
จั่วหัวแบบนี้ เพราะ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค มีเรื่องชวนแลกเปลี่ยน เรื่องของเรื่อง ก็มาจากข่าวร้อนๆ ในโลกโซเชียล แล้วเรามาพิจารณากันด้วยใจเป็นธรรม กับ แนวทางแก้ปัญหา
ลูกค้างง! เจอไรเดอร์โทร.โวยหลังสั่งอาหารเยอะ ถาม ไม่สงสารไรเดอร์บ้างเหรอครับ? ชาวเน็ตงงลูกค้าผิดอะไร
เหตุการณ์นี้ถูกผู้ใช้เฟซบุ๊กที่เป็นลูกค้าสั่งอาหาร โพสต์เล่าเหตุการณ์เมื่อ 8 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา ว่า “อยากกินอาหารอีสานฮะ สั่งร้านลาบเป็ดนายหนอมแถวหอการค้าฯ ผ่านแกร็บ สั่งไป 17 อย่าง ยอดราว 1,500 บาทนิดๆ วันนี้บ้านผมมีคนอยู่รวมพี่เลี้ยงประมาณ 8-9 คนได้ จู่ๆ มีแกร็บโทร.มาต่อว่า สั่งของเยอะเกินไป ไม่สงสารผมบ้างเหรอ? ปิดท้าย ลูกค้าก็สรุปในโพสต์ รู้สึกดีใจที่ชนะตัวเองได้วันนี้ ไม่วีนกลับไป ถ้าเป็นสมัยก่อนนะ เหอะ! เพิ่มเติม : เขามาส่งเรียบร้อย ผมก็ทิปให้ 100 ตามสัญญาที่ทำให้เขาลำบาก แต่ผมก็รีพอร์ตในระบบแกร็บไปว่าเขาโทร.มาบ่นด้วยน้ำเสียงหงุดหงิด เผื่อจะได้ไม่ทำแบบนี้กับใครอีกฮะ งานบริการแหละเนาะ"
>เอ้ามาดูอีกหนึ่งดราม่าร้อน ..ไรเดอร์ โพสต์ท้อ กดรับงานเจอลูกค้าสั่งชานม 50 แก้ว ใน 1 ออร์เดอร์ ปรากฏว่า เพจเฟซบุ๊ก เจ้าหญิงน้อยแห่งอันดามัน มีการโพสต์ เมื่อ 15 สิงหาคม 2565 ข้อความเชิงสอนว่า ...
“ไรเดอร์ ท่านนึงโพสต์ เชิงท้อกับออเดอร์ ที่ได้รับ และตามตอบ หลายความเห็น คือน้องพี่จะสอนให้นะ ระบบคือน้องเลือกรับงาน น้องรับแล้วเจอลูกค้าซื้อเยอะ เอารายการมาโพสต์ ลงโซเชียล น้องอาจต้องการระบาย ต้องการคนเห็นใจ แต่มันถูกแล้วเหรอน้อง น้องเป็นไรเดอร์ของบริษัท น้องกดรับงานเอง น้องแคปมาโพสต์เอง คนรุมด่าลูกค้าต่าง ๆ นานา และอีกอย่าง น้องโพสต์ในกลุ่มไรเดอร์ น้องคิดว่า ที่นี่มีแต่พวกเดียวกันไรเดอร์เหมือนกันเอาไว้ปรับทุกข์กัน ก็ใช่ แต่มันก็คือโซเชียลซึ่งตอนนี้มีคนแชร์ไปเยอะแล้วก็รับผิดชอบสิ่งที่ทำด้วยแล้วกัน (ลูกค้าสั่งเยอะ งานเลี้ยง)
หลังการโพสต์ของเพจนี้ได้เกิดดราม่าขึ้นทันที เมื่อเพจนั่นแหละถูกวิจารณ์อย่างหนักจนต้องออกมาขอโทษ ขณะที่บรรดาผู้บริโภคเสียงแตก ออกเป็น 2 ฝั่ง **ฝ่ายที่เข้าข้างลูกค้า ก็บอกว่า ถ้าไรเดอร์ไม่อยากรับออเดอร์ กดยกเลิกไปก็ได้ไม่เห็นต้องมาโพสต์แบบนี้
>ขณะที่ส่วนใหญ่ เข้าข้างไรเดอร์ ต่างมองว่า แบบนี้คือลูกค้าไม่อยากเสียค่าส่งเยอะ แต่ไม่คิดถึงไรเดอร์เลยว่าจะขนยังไง กระเป๋ามีแค่นั้นเอง ถ้าขนมาได้แล้วของเสียหายไรเดอร์ก็ต้องรับผิดชอบอีก
นี่เป็นแค่ตัวอย่างที่เกิดขึ้น...หลายคนอาจตั้งคำถามว่า อ้าว! ก็เห็นอยู่ว่าลูกค้าสั่งเยอะ แล้วกดรับ ออเดอร์ ทำไมล่ะ ?
เอาละ ลองมาดูข้อเท็จจริงเรื่องนี้กันบ้าง !
อย่างแรกเลย ไม่ใช้ความผิดของไรเดอร์ แต่ ระบบของแอปต่างหากที่ผิด .. นี่เป็นข้อมูลของผู้ที่รู้จริงเรื่องระบบ Grab มาบอกเล่าให้ฟัง..ทำไมน่ะเหรอ ...นั่นก็เพราะว่า “เคยกดให้แกร็บไปส่งของ แล้วเราต้องระบุน้ำหนักของที่ส่งนะ ถ้าเกินหรือกล่องใหญ่เกิน ก็ต้องเรียก Grab car แทน
คราวนี้มาถึงอย่างแรกเลย แอปฯ ต้องคำนวณน้ำหนักและปริมาตรที่ไรเดอร์จะขนส่งอาหารได้อย่างปลอดภัย เห็นบางเม้นท์เล่าว่าเคยเจอคนสั่งกาแฟแอมะซอนที 16 แก้ว 24 แก้ว ขี่ไปขนลุกไป ว่าของจะพังจะหกไหม ได้ค่ารอบ 40 ถ้าหกสองแก้ว เสียหายร้อยนึงงี้
คือไรเดอร์ส่วนใหญ่พูดกันจริงๆ ส่วนคือยังเด็กๆ อ้ะ ว่ากันตามจริง ถ้าเขามีโอกาสในชีวิต มีงานดีๆ ใครจะอยากมาเสี่ยงภัยอยู่บนท้องถนน เงินก็ได้ไม่เยอะต้องทำรอบ ไม่งั้นไม่พอกิน งานก็ต้องแย่งกันกดรับ เพราะคนตกงานหันมาขับกันเยอะขึ้น
ทั้งที่จริงๆ น้องมันคงกังวลแหละ ว่าของเยอะแล้วเกิดของเสียหาย ต่อให้ยัดลงกล่องได้หมด เกิดมันทับกันแตกล่ะ? ที่วิ่งมาทั้งวันมันจะเข้าเนื้อไหม?? ส่วนเคสที่ลูกค้าสั่งอาหารอีสาน 17 อย่าอ้างว่าให้ทิปตั้งร้อยนึง 100 ไม่เหวี่ยงวีนต่อหน้า หลังถูกต่อว่า แต่ลูกค้ากลับ กดรีพอร์ต ไม่นึกถึงเลยว่า ไรเดอร์จะโดนพักงานกี่วัน จะโดนแบล็คลิสต์เลยมั้ย คือถ้าจะทั้งรีพอร์ตด้วย แล้วยังเอามาเขียนคอนเทนต์ลงเพจที่มีคนตามแสนกว่าอีกรอบ เหมือนถูกเหยียบซ้ำสองรอบอ้ะ
หากมองด้วยใจเป็นกลางและตามข้อเท็จจริง แอปพลิเคชัน แต่ละเจ้าที่ต้องออกมาตรการแก้ไข เพราะการ ที่ไม่จำกัดปริมาณและ การส่งสินค้า ไปที่ GRAB CAR หากได้รับ
ออเดอร์จำนวนมาก
หลายปีที่ผ่านมา เทรนด์การสั่งอาหารมากินที่บ้านกลายเป็นพฤติกรรมยอดนิยมของคนเมือง ส่งผลให้ธุรกิจฟู้ดเดลิเวอรี ไม่ว่าจะเป็น Grab, LINE MAN, Food Panda, Gojek, Robinhood เติบโตทะลุฟ้า ประเมินกันว่า ปัจจุบัน ธุรกิจฟู้ดเดลิเวอรีมีมูลค่าสูงถึงปีละ 35,000 ล้านบาท และมีการจัดส่งอาหารมากกว่า 70 ล้านครั้งต่อปี แต่มันช่างสวนทางกับสิ่งที่ไรเดอร์ ต้องเผชิญ เพราะฉะนั้น เจ้าของทุกแพลตฟอร์ม ต้องหันมาแก้ไขปัญหานี้ ! ไล่ตั้งแต่ ......
ประเด็น "จำนวน" - "ปริมาณ" ในการสั่งสินค้าบนแอปฯ ที่ให้บริการส่งผ่านไรเดอร์เหมาะสม หรือ มากไป ?
เมื่อดูค่าตอบแทนเหมาะสมหรือไม่ ?
ประสิทธิภาพ คุณภาพ ในการขนส่งลดลงแค่ไหน ?
จำนวนหรือปริมาณที่เหมาะสม ควรเป็นเท่าไหร่ ?
หรือใครจะทำคลิปทดลองการขนสินค้าจำนวนมากให้เห็นภาพว่าไรเดอร์จะต้องทำยังไง วางตรงไหน พื้นที่พอหรือไม่ และภาพที่ออกมามันปลอดภัยต่อการขับขี่หรือไม่?
ปิดท้ายด้วยข้อความจากใจของตัวแทนไรเดอร์
สวัสดีครับ ผมเป็นส่วนหนึ่งในการขับไรเดอร์ส่งอาหาร ของบริษัทหนึ่ง ซึ่ง การขับในแต่ละวัน ร้อน และ เหนื่อย มากครับ ทั้งแดด ทั้งรออาหาร ทั้งขับไกล เมื่อยมือ เมื่อยก้นมากครับ 1 คน ยอดไม่ได้เยอะนะครับ เงินที่ได้จากลูกค้า ที่สั่งอาหารก็ต้องโอนเข้าบริษัทหมด ยอดแต่ละวันบางทีก็ต้องเข้าเนื้อตัวเองครับ เพราะเหรียญและแบงค์ 20 ไม่สามารถฝากเข้าตู้ได้ เพราะเลิกงานก็ดึกมากแล้ว ทำงานก็เช้า อยากรบกวนพวกพี่ๆ ที่สั่งอาหารแล้วทำงานบนตึกสูงๆ ติดธุระ ติดงาน รบกวน ลงมารับของสักแปปด้วยนะครับ เพราะบางทีกว่าจะเดินไปที่ตึก กว่าจะขึ้นลิฟต์ หาทางไม่เจอบ้าง มันกินเวลาเยอะมากครับ ยิ่งถ้าที่จอดไกลจากตึก ผมตึ้บเลย แล้วรับออเดอร์คือไม่ใช่ใกล้จุดที่เราอยู่นะครับ ขับไปที่ร้าน ขับไปหาลูกค้า มันไกลจริงๆครับ ถ้าโชคดีก็ได้งานใกล้ ใจเขาใจเรานะครับ ต่างคนต่างมีงานเหมือนกัน ผมตั้งกระทู้มาขอความเห็นใจเฉยๆครับ เพราะถ้าคุณลูกค้าใช้เวลานั้นกดสั่งซื้อได้ ลงมารับใช้เวลาไม่ต่างกันมากนะครับ อาจจะไวกว่าด้วย ขอบคุณมากครับ รักทุกคน
ลูกค้าคงเห็นแล้วนะ ปัญหาของไรเดอร์ ที่หลายคนไม่รู้!! ขี่รถส่งอาหาร วันๆ ต้องเจออะไรกันบ้าง?
นางภรณี ภู่ประเสริฐ ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนสุขภาวะประชากรกลุ่มเฉพาะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) บอกว่า สสส. ให้ความสำคัญต่อการสร้างเสริมสุขภาพและพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงานนอกระบบ โดยร่วมกับกระทรวงแรงงานในการประเมินสถานการณ์ของแรงงานนอกระบบในปัจจุบัน ที่มีรูปแบบการประกอบอาชีพที่เปลี่ยนแปลงจากในอดีตอย่างมาก โดยจากการศึกษา
ปัญหาของไรเดอร์ส่วนมากที่พบ มีทั้งปัญหาสุขภาพกายและสุขภาพจิต ทั้งเรื่องของอาการปวดหลัง ปวดตัว จากการขับขี่ยานพาหนะเป็นเวลานาน ปัญหาทางเดินหายใจ ภูมิแพ้ จากการสูดมลพิษบนท้องถนน รวมไปถึงปัญหาสุขภาพจิต จากการต้องรับมือกับร้านค้าและลูกค้า และสภาพอากาศของประเทศไทย
อีกปมที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เห็นชัดเจน ไรเดอร์ ไม่ใช่ลูกจ้าง เป็นเพียงผู้ที่ถูกเรียกว่า แรงงานแพลตฟอร์มส่งอาหาร, ลูกจ้าง, หรือ ผู้รับจ้างอิสระ จึงไม่มีสวัสดิการใดๆ ทั้งสิ้น ดังนั้น ไรเดอร์ กับ ผู้บริโภค หากเอาใจเขา มาใส่ใจเรา! ปัญหากระทบกระทั่งจะไม่เกิดอีกต่อไป แถมทุกฝ่ายไม่ละเมิดสิทธิของกันและกัน