มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค
ให้คำปรึกษาผ่านโทรศัพท์ 02 248 3737
ให้คำปรึกษาผ่านโทรศัพท์
Consumer Thai Facebook page

< กลับไปหน้ารวมข่าว

บทเรียน จาก SANTIKA PUB ถึง Mountain B “ หนังฉายซ้ำโศกนาฏรรม”

เขียนโดย: มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค

เขียนเมื่อ: 15-08-2022 12:17

หมวดหมู่: ที่อยู่อาศัย

ภาพประกอบข่าว

บทเรียน จาก SANTIKA PUB ถึง Mountain B “ หนังฉายซ้ำโศกนาฏรรม”

ชีวิตของผู้คน ถูกตีค่า ต่ำกว่า มูลค่าของเม็ดเงินที่ได้มาจากวิธีการหลบหลีกกฎหมาย เฉกเช่น การเปิด ผับ บาร์ โดย ไร้ใบอนุญาต ซึ่งมีโทษเบาบาง “เวลามีเรื่องมีราว ตำรวจเข้ามาจับ จะโดนแค่ ข้อหาเดียว นั่นคือ “ เปิดสถานบริการ โดยไม่มีใบอนุญาต “ เท่ากับว่า เปิดผับ เคลียร์เจ้าหน้าที่ หวังแค่กอบโกย ไม่สน...ความปลอดภัยชีวิตคนอื่น

จากช่องว่างทางกฎหมาย ทำให้ พวกนายทุน ที่ไร้สามัญสำนึกรับผิดชอบต่อสังคม จึงใช้วิธีนี้เป็นเครื่องมือเลี่ยงบาลี ยิ่งถ้าหากมีเจ้าหน้าที่รัฐ บางกลุ่ม รู้เห็นเป็นใจ“ รับส่วย “ยิ่งทำได้สะดวกโยธิน, สาเหตุที่เป็น แบบนี้ เพราะเจ้าหน้าที่ ไม่เอาจริงเอาจัง ไม่คำนึงถึงกฎหมายที่วางระเบียบไว้ มีแต่การเรียกรับผลประโยชน์โดยมิชอบ จึงไม่ใส่ใจที่จะไปตรวจตรา

เชื่อว่า สถานบริการในประเทศไทย 95% ไม่มีใบอนุญาต หรือมีใบอนุญาตผิดประเภท .. “ใบอนุญาตเปิดสถานบริการ ใบละ 20 ล้าน ไม่พอนะครับ ”ข้อมูลข้างต้น ผู้รู้เบื้องลึก เบื้องหลัง ในแวดวงนี้ กล้าแฉ อย่างหมดเปลือก

อ่านต่อ ที่ ไทยรัฐออนไลน์ ... แล้วพวกคุณจะเห็นภาพชัด !!!!

https://www.thairath.co.th/scoop/theissue/2465937

มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กำลังโยงเรื่องไปถึง “ เมาท์เทน บี “ ( Mountain B ) ผับ ที่ตั้งบริเวณ ปากซอยเขาหมอน ต.พลูตาหลวง อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี เมื่อเจาะลึก ประเด็นสำคัญ นั่นคือ “การขออนุญาตเปิดสถานบันเทิง “ ปรากฏว่า ..ไม่มีใบอนุญาต แต่เคยเปิดเป็นร้านอาหาร แถม ทำการต่อเติมดัดแปลง เป็นสถานบันเทิง แบบแปลนที่สร้างมันผิดเพี้ยนไปหมด ทว่า สิ่งปลูกสร้าง ที่ไร้มาตรฐาน กลับถูกปล่อยผ่าน จาก หน่วยงานในพื้นที่ จนนำมาสู่การสูญเสียของชีวิตผู้คน

วันนั้น 5 สิงหาคม 2565 ช่วงเวลาตี 1 เศษ โลกออนไลน์ แพร่ภาพ ความโกลาหล หน้าผับ ,
ท่ามกลางเปลวเพลิงที่โหมลุกไหม้ นักท่องราตรีนับร้อย แห่ตะเกียกตะกายหนีตายออกมา ที่ประตูด้านหน้า ที่เปิดไว้เพียงแค่จุดเดียว เป็นภาพนาทีชีวิตที่น่าสลดใจอย่างยิ่ง นี่เป็นต้นตอแรก ที่ทำให้เกิดความสูญเสีย เพราะบางคนออกมาไม่ทัน !!!

“ อาสากู้ภัย จาก หน่วยกู้ภัยมูลนิธิสว่างโรจนธรรมสถาน สัตหีบ ที่ เข้าไปในผับเพื่อช่วยเก็บกู้ร่างผู้เสียชีวิต หลังควบคุมไฟสำเร็จ พูดด้วยน้ำเสียงเศร้าว่า “หดหู่ใจมาก...ศพส่วนมาก กองอยู่ตรงทางออก ไฟคลอกหมด”

ส่วน ผู้รอดชีวิต ที่พอมีสติ เล่าว่า ก่อนเกิดเหตุเป็นช่วงที่ดนตรีกำลังเล่น, นักเที่ยวกำลังเต้นกันอย่างเมามัน จู่ๆเห็นไฟลุกไหม้ตรงฝ้าเพดาน จากนั้นได้ยินเสียง ระเบิดขึ้นหลายครั้งติดต่อกัน แรงระเบิดทำให้มีผู้เสียชีวิตทันทีหลายคน และเพลิงที่โหมลุกลาม ได้เผาไหม้ร่างนักเที่ยวที่พยายามตะเกียกตะกายหนีออกมาทาง ประตูด้านหน้า ซึ่งมีเพียงจุดเดียว ที่พอจะเป็นทางรอด แต่กลับเป็นทางแคบ และ ไม่มีป้ายบอกทางหนีไฟ ทำให้มีคนต้องจบชีวิตอยู่ตรงนั้น

จากโศกนาฏกรรม เพลิงไหม้ ผับ MountainB ล่าสุด ( 28 ต.ค. 65) มีผู้เสียชีวิต รายที่ 26 ( ข้อมูลจาก เพจ สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดชลบุรี )

เรื่องของประตู มีทางออกจุดเดียว เพราะภาพเหตุการณ์ หลังเพลิงสงบ มันฟ้อง จนถูกโจมตีจากกระแส โซเชียล ถึงแม้ พนักงานของร้านออกมาโต้ดราม่า โดยยืนยันภายในร้านมี 3 ประตู แน่นอน หากเป็นลูกค้าเก่า
จะรู้ทันทีว่าทางออกตรงไหน ส่วนคนวิ่งหนีไฟลุกลามมาออกประตูหน้า เพราะความตกใจ

แต่เมื่อผู้สื่อข่าวหลายสำนัก เข้าไปตรวจสถานที่จริง กลับพบว่า ประตูที่อ้างว่า มี 3 จุด กลับมี 2 จุด ที่อยู่ด้านหลัง ไม่สามารถใช้งานเพื่อการเข้า - ออก เพราะกลายเป็นที่เก็บสินค้า โดยถูกปิดล็อกจาก ด้านนอก แถม ยังพบว่า ระบบการทำงานของอุปกรณ์ดับเพลิงด้วยน้ำ แบบอัตโนมัติ ยังไม่ได้มาตรฐาน , ถังดับเพลิงก็มีไม่เพียงพอ

พลตำรวจตรี ชัยต์พจน์ สุวรรณรักษ์ รองผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 2 ในฐานะ โฆษกกองบัญชาการตำรวจภูธรภาค2 บอกว่า จากการตรวจสอบภายในร้าน ไม่มีเครื่องตัดไฟ , มีถังดับเพลิงแค่ 2 จุด ซึ่งไม่เพียงพอต่อปริมาณพื้นที่ภายในร้าน ส่วนตัวอาคารก่อสร้างด้วยปูน เป็นลักษณะสี่เหลี่ยมผืนผ้าทรงลึก หน้ากว้างราว 20 เมตร ความยาวลึกกว่า 30 เมตร สูงราว 5 – 6 เมตร หลังคามุงด้วยเมทัลชีท และบริเวณโดยรอบ บุอัดด้วยโฟมป้องกันเสียง ภายในได้รับความเสียหายทั้งหมด , ส่วน นายพงศ์ศิริ ปั้นประสงค์ หรือ เสี่ยบี อายุ 27 ปี เจ้าของ Mountain B “ ศาลจังหวัดพัทยา “ อนุมัติ หมายจับ ตามที่ ตำรวจ ได้รวบรวมพยานหลักฐาน ข้อหา “กระทำความผิด ประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย และ ตั้งสถานบริการโดยไม่ได้รับอนุญาต

มีข้อมูลจากผู้สื่อข่าว เล่าว่า “เมาท์เทน บี” เคยถูกร้องเรียน เสียงดังรบกวนชาวบ้าน แถม เปิดเกินเวลา
จน ตำรวจภูธรพลูตาหลวง พร้อมด้วย ปลัดอำเภอสัตหีบ เข้าตรวจค้นและจับกุม เมื่อ 16 กรกฏาคม 2565

ก่อนหน้านี้ “เมาท์เทน บี” เคยเปิดเป็นร้านอาหารที่มีการเปิดให้ขายสุรา หรือเป็นร้าน สไตล์แฮงค์เอาท์ แต่ได้มีการต่อเติม และ เปิดสถานบันเทิง หนำซ้ำ ยังลักลอบเปิดเป็นผับ เมื่อ 2 มิถุนายน ที่ผ่านมา
ทั้งที่ตั้งอยู่ในพื้นที่โซนนิ่ง ที่ไม่อนุญาตให้เปิดสถานบันเทิง

ขณะที่ ผู้สื่อข่าว ได้แชร์ “เอกสารแบบคำขออนุญาตเปิดสถานบริการการแพร่ระบาดโรคโควิด – 19
ซึ่งทางร้าน “เมาท์เทน บี” ได้ยื่นคำขอ เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2565 โดยระบุถึงความประสงค์ขออนุญาต เปิดสถานบริการหรือสถานประกอบการที่มีลักษณะคล้ายสถานบริการ สถานบันเทิง ผับ บาร์ คาราโอเกะ หรือ สถานที่อื่นที่มีลักษณะคล้ายกัน โดยชื่อสถานบริการตามใบอนุญาต ชื่อ “MOUNTAIN B” สถานที่ตั้ง 2/51 หมู่ 7 ถ.สุขุมวิท ต.พลูตาหลวง อ.สัตหีบ จ. ชลบุรี มี พนักงานจำนวน 5 คน แต่ไม่ได้รับอนุญาต เพราะอยู่ในเขตโซนนิ่ง

file:///C:/Users/user/Downloads/%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%9A%E0%B8%B5%E0%B8%AD%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%82%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%94(1).webp

เอกสารชัดเจน ห้ามเปิดผับในเขตโซนนิ่ง แต่ทำไม MountainB ยังเปิดอยู่ได้ปล่อยปละ ละเลย จนกระทั่งเกิดเหตุเพลิงไหม้ แถม หน่วยงานในพื้นที่ โยนกันไปมา อ้างว่า ไม่เคยรู้มาก่อน ที่แห่งนี้เป็น ผับ

แต่เรื่องนี้ไม่รอดพ้นสายตานักข่าวที่เฝ้าเกาะติดสถานการณ์ ,และแล้ว ก็ได้เห็น ความไม่ชอบมาพากล และ ภาพหลักฐานชิ้นสำคัญ ทั้ง ฝ่ายปกครอง และ ตำรวจ ในการปูพรม ตรวจผับ เมื่อ 13 มิถุนายน 2565 แต่กลับไม่สั่งปิด “หมดสิทธิ์ปฏิเสธ? เมาท์เทน บี ไม่ใช่ผับ?” ดังนั้น คำกล่าวอ้างที่ว่า “เจ้าหน้าที่ไม่ทราบ” จึงถูกหักล้างลงไปได้100% เพราะ เมาท์เทน บี ถูกรายล้อมเป็น “ไข่แดง” ท่ามกลางสถานที่ราชการ ทั้ง ตำรวจ – ทหาร
และ ฝ่ายปกครอง

เพจ Bussarin Worasamith ผสข. PPTV

https://www.facebook.com/rakung/posts/pfbid033DePWWxTgifbURgVLPYxZMS3gP6HYsaJM12acSXvaSZr2eRgH6GW1peKeB2TgzELl

ใกล้มากเกินจริงๆ ฟ้องกันด้วยภาพหลักฐานจะจะแบบนี้ ... มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เลยเกิดคำถาม ในเมื่อเจ้าหน้าที่ ต่างรู้ดีว่า พื้นที่สัตหีบ เป็นเขต โซนนิ่ง ที่ห้ามเปิดผับ แต่ทำไมถึงยังปล่อยให้ เมาท์เทน บี เปิดบริการ จนเกิดเหตุไฟไหม้ เริ่มมีการตั้งคำถามว่า ? ไม่รู้ว่าเป็นผับ? ทั้งที่ลงตรวจถี่ยิบ, แบบนี้เจ้าหน้าที่ในพื้นที่เข้าข่ายความผิด มาตรา 157 ฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่หรือไม่?

อีกข้อสงสัยที่สังคมพากันตั้งคำถาม แบบไม่เชื่อว่า นายพงศ์ศิริ ปั้นประสงค์ หรือ เสี่ยบี อายุ 27 ปี
จะเจ้าของ Mountain B ตัวจริง

งานนี้ ก็เลยมีนักข่าวในพื้นที่ได้หลักฐานเด็ดมา เป็นภาพถ่าย เจ้าของตัวจริง "เมาท์เทน บีผับ" ซึ่งเป็นพ่อของ นายบี ( แต่ใช้ชื่อลูกเป็น "นอมินี ) แฉ เป็นผู้มีอิทธิพลในพื้นที่ถึงขนาด นักการเมืองท้องถิ่นและข้าราชการยังต้องเกรงใจ เพราะวันเปิดร้าน มีข้าราชการสวมเครื่องแบบมาร่วมแสดงความยินดี

เพจ “ อีซ้อขยี้ข่าว “ https://www.thainewsonline.co/news/838670

ในที่สุดข้อมูลนี้ ก็เป็นจริง เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2565 ศาลจังหวัดพัทยา ออกหมายจับ นายสมยศ ปั้นประสงค์ อายุ 55 ปี หรือ "เสี่ยยศ" พ่อของ “เสี่ยบี” เจ้าของเมาน์เทนบี ข้อหา 1. กระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย สาหัส 2. ร่วมกันตั้งสถานบริการโดยไม่ได้รับอนุญาต

เนื่องจากสืบทราบความเชื่อมโยงว่าเป็นเจ้าของที่แท้จริง แต่ใช้ชื่อลูกชายในการดำเนินกิจการ

ลูกใช้เวลา2วันออกหมายจับ , พ่อใช้เวลา10วันออกหมายจับ “ไม่มีอิทธิพลเลยจริงๆ”

การที่ตำรวจ ใช้เวลาเนิ่นนาน ยื่นหลักฐานขอให้ศาลออกหมาย จึงทำให้ผู้ต้องหา "หลบหนี "

กระทั่ง ช่วงบ่าย 16 สิงหาคม 2565 นายสมยศ ติดต่อเข้ามอบตัว ที่ สถานีตำรวจภูธรพลูตาหลวง บรรดาญาติผู้เสียหาย พร้อม ทนาย รณรงค์ แก้วเพ็ชร พากันไปค้านประกันตัวผู้ต้องหารายนี้

ต่อมา 17 สิงหาคม พ.ศ. 2565 ศาลให้ประกัน'เสี่ยยศ' วงเงิน 1 ล้านบาท สั่งติดกำไล อีเอ็ม พร้อมกำหนด 2 เงื่อนไข ห้ามยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน หรือก่อเหตุอันตรายประการอื่น และให้ผู้ต้องหามารายงานตัวต่อศาล เมื่อครบฝากขังครั้งที่2 ครั้งที่ 4 และครั้งที่ 7

ก่อนหน้านี้ ผู้เสียหาย รวมตัวกันปรึกษาทนาย รณรงค์ แก้วเพ็ชร ยื่นเรื่องถึง พลตำรวจโท จิรภพ ภูริเดช ผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง ขอให้ ตำรวจกองปราบ ลงมาทำคดีนี้ เพราะกลัวเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อนในพื้นที่ เกรงจะทำให้เกิดการล้มคดี ,
โดยมี4เหตุผลที่เป็นพิรุธจนไม่อยากให้ตำรวจชลบุรี ทำคดีนี้ #หวั่น เจ็บ-ตาย ฟรี

1) ตำรวจไม่เปิดโอกาสให้ครอบครัวผู้เสียหายเจ็บ-ตายเข้ายื่นคัดค้านการประกันตัวเหมือนคดีอื่น 2) ไม่เปิดโอกาสให้ผู้เสียหายกับผู้ต้องหาเจรจาค่าเสียหายกันต่อหน้าเหมือนคดีอื่น 3) มีอิทธิพลในพื้นที่สูง 4) ในพื้นที่ ทั้งตำรวจและฝ่ายปกครองมีผลประโยชน์ทับซ้อน , พร้อมเปิดหลักฐานเด็ดมีคนมีสีเอี่ยวเปิดผับเถื่อน

ที่สำคัญ ครอบครัวของกลุ่มเหยื่อไฟไหม้ ได้เงินเยียวยาจากเจ้าของผับแค่คนละ1 หมื่นบาท , ทุกคนต่างกลัวกันว่า จะซ้ำรอย ซานติก้าผับ ถ้าไม่ตามต่อก็จะหายเข้ากลีบเมฆ

และนี่คือตัวอย่างเสียงเรียกร้องจากครอบครัวของเหยื่อ

@ มันไม่จบแค่หมื่นเดียว ทั้งที่ต้องรักษาอีกยาวตลอดชีวิต

@ส่วนหนึ่งของผู้บาดเจ็บสาหัสคือมือเบส-มือกลองที่อวัยวะหลักใช้เลี้ยงชีพถูกไฟคลอก ไม่สามารถใช้งานได้ , หลายคนฟื้นมาชีวิตคงเปลี่ยนไป

@ ค่ารักษาพยาบาลบางรายเกือบ 600,000 ,ผับดังช่วย 10,000 ,แล้วที่เหลือ ,ร้านคิดว่าช่วยยังไง , เห้อ...สุดท้ายก็คงถูกลืม

@ แผลไฟไหม้ไม่ใช่หายง่ายๆ, เหยื่อที่ต้องรักษาตัวต่อเนื่อง ทยอยร้องเรียนผ่านสื่อมวลชน

@ ทำไมต้องรีบเยียวยา เพราะสื่อยังตาม หลังสื่อเริ่มถอนทัพแล้ว หากยังพอมีช่องทางสื่อยังเช็คเอ้าท์ ไม่หมดคนยังไม่เมินฟีด ยังเอ๊ะกับข้อความข่าวนี้ ก็เรียกร้องให้เค้าหน่อยก่อนไม่มีข่าวเลย

@ผู้บาดเจ็บ เสียชีวิต ทำใจได้เลย ขนาดเงินซื้อประกันอัคคีภัย เจ้าของผับ ยังไม่ทำ แล้วจะเอาเงินหลายสิบล้านที่ไหนมาชดใช้

เม้าท์เท่นบี เป็นผับเถื่อน มีต้นตอ มาจาก “เจ้าหน้าที่รัฐ ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ “
โดยเฉพาะ ตำรวจ ,

นางนฤมล เมฆบริสุทธิ์ รองผู้อำนวยการฝ่ายพิทักษ์สิทธิ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ชี้ให้เห็นประเด็นนี้
พร้อมทั้งเรียกร้องให้ ภาครัฐ ต้องกำหนดมาตรการ คุ้มครองผู้บริโภค จากเพลิงไหม้ คลับ ผับ บาร์
ถือเป็นความสำคัญที่ต้องดำเนินการในระดับนโยบาย ต้องมีระบบการเปิดเผยข้อมูล “ของ สถานบริการ ทั้ง ได้รับอนุญาต และ ไม่ได้รับอนุญาต การเปิดดำเนินการ ต้องตรงตามประเภท ที่ยื่นขอ ต้องมีใบอนุญาตก่อสร้างอาคาร ข้อมูลเหล่านี้ ต้องเปิดให้ประชาชนเข้าถึงได้ เพื่อตัดสินใจ เข้าใช้บริการ ส่วน “การเยียวยา” ผู้เสียหาย จาก สถานประกอบการที่ขาดมาตรฐาน และ ความรับผิดชอบต่อชีวิตผู้บริโภค การกระบวนการยาวนานมาก อีกทั้ง ไม่มีหลักประกัน
จะได้รับการชดเชย ดังนั้น จึงขอเสนอให้ ภาครัฐ จัดตั้ง “กองทุน” หรือ “เงินค้ำประกัน” ที่เรียกเก็บจาก “เจ้าของสถานประกอบการ” เพื่อ “เป็นหลักประกัน” หากเกิดเหตุการณ์แบบนี้
ผู้บริโภค จะได้รับเงินช่วยเหลือเยียวยา โดยอัตโนมัติ ในทันที ไม่ใช่ เอาเงินภาษีประชาชนไปใช้
เพื่อการนี้ อย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน

เหตุการณ์ครั้งนี้มาเป็นจุดเริ่มต้นของหลักความรับผิดชอบที่ต้องสร้างความตระหนักรู้ถึงแม้ว่าเป็นสิ่งที่ร้องขอไม่ได้ แต่สามารถสร้างขึ้นเองได้เพื่อให้เกิด ความรับผิดชอบต่อการกระทำกล้ารับผิดชอบการกระทำของตน

“กฎหมาย “ มีไว้เพื่อบังคับผู้ที่ไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานที่สังคมกำหนดขึ้น โดยต้องอยู่ภายใต้ “มาตรฐานที่เป็นกลาง” ส่วน “ความรับผิดชอบ “ มีความสำคัญอย่างมาก หากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นผู้ประกอบการ ภาครัฐ และ ส่วนที่เกี่ยวข้อง หากขาดความรับผิดชอบ ก็อาจส่งผลให้เกิดเหตุการณ์โศกนาฏกรรม ซ้ำซาก
จากเหตุการณ์ไฟไหม้ เม้าท์เท่น บี ถือเป็นอุทาหรณ์ครั้งยิ่งใหญ่ ที่ผู้ปกครองบ้านเมือง ต้องตระหนักรอบคอบและจริงจัง
อย่าปล่อยให้ประชาชนต้องเผชิญกับความอันตรายในภายภาคหน้า อย่างไม่เป็นธรรม..?

มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ได้จั่วหัว ไว้ว่า “บทเรียน จาก “ SANTIKA PUB ถึง “ Mountain B “ “ หนังฉายซ้ำโศกนาฏรรม”

ใช่แล้ว !!!มันซ้ำรอยเดิม ไล่ตั้งแต่ โครงสร้างที่ไม่ได้มาตรฐาน มีประตูทางออกเดียว เกิดเพลิงไหม้มีคนเจ็บ-ตาย จำนวนมากและ ... เงินเยียวยา ได้หลักหมื่นบาท ตอนที่ยังเป็นข่าวดัง

ตอนหน้า เราจะพาย้อนกลับไปที่ “SANTIKA PUB” “ ฝันร้าย” ที่ยากจะลืมเลือน


ปรึกษา ร้องเรียน
สอบถามเพิ่มเติม