มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค
ให้คำปรึกษาผ่านโทรศัพท์ 02 248 3737
ให้คำปรึกษาผ่านโทรศัพท์
Consumer Thai Facebook page

< กลับไปหน้ารวมข่าว

ใบรับรองแพทย์ ... ใช้ผิด ติดคุกได้

เขียนโดย: มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค

เขียนเมื่อ: 23-08-2022 15:50

หมวดหมู่: บริการสุขภาพ

ภาพประกอบข่าว

ใบรับรองแพทย์ ... ใช้ผิด ติดคุกได้

ช่วงนี้ กระแส “ ใบรับรองแพทย์ “ มาแรง จากกระแสข่าว สิบตำรวจโทหญิง ซึ่งเป็น นายจ้าง ทำร้ายร่างกาย สิบโทหญิง อย่างทารุณ , ได้นำ “ ใบรับรองแพทย์ “ ที่อ้างว่า มีอาการทางจิต , มีอาการป่วย ควบคุมตัวเองไม่ได้ เป็นบางเวลา , โดยแจ้งว่า ได้รับการรักษา ตั้งแต่ ต้นปี 2564 , แต่ไม่สามารถ ระบุได้ว่า อาการที่เป็นนั้น คือ โรคอะไร ทว่า “ ใบรับรองแพทย์ “ มีพิรุธ เพราะลงวันที่ 19 สิงหาคม 2565 ซึ่งเกิดขึ้นเพียงแค่ 1 วัน ก่อนเข้ามอบตัว แถม แพทย์ ที่ออกใบรับรอง “ไม่ใช่ผู้รักษา “ เป็นแค่“ ผู้ลงความเห็นอาการป่วย “ จาก ประวัติการรักษา เท่านั้น ดังนั้น ตำรวจ จึงต้องนำ ใบรับรองแพทย์ ไปตรวจสอบ

การออกใบรับรองแพทย์ให้กับคนไข้ทั้งที่ไม่ได้มีอาการป่วย มีความผิดหรือไม่ ?

นี่เป็นคำถาม ที่มีคำตอบ จาก นายแพทย์ สมศักดิ์ โล่ห์เลขา อดีตนายกแพทยสภา ... “ หากคนไข้ไม่ได้ป่วยจริง แต่ แพทย์ กลับออกใบรับรอง ถือเป็นความผิดที่แพทย์ไม่ซื่อสัตย์ต่อจรรยาบรรณ ตาม “ข้อบังคับแพทยสภาว่าด้วยการรักษาจริยธรรมแห่งวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. 2549 “ ต้องไม่เจตนาทุจริตในการออกใบรับรองแพทย์ , และ ต้องไม่ให้ความเห็นโดยไม่สุจริต

อีกกรณี คือ แพทย์ ไม่ได้ตรวจคนไข้ แต่ เขียนใบรับรองเซ็นชื่อกำกับเรียบร้อย , อย่างนี้ถือเป็น “การขายใบรับรองแพทย์ “ ซึ่ง แพทยสภา ได้ดำเนินคดี , พร้อมพักใช้ใบอนุญาต

อีกกรณีคือ คนไข้เจ็บป่วยจริง , แต่แพทย์ให้หยุดพักเกินกว่าความเป็นจริง เช่น ตามความเป็นจริง ต้องหยุดพัก 7 วัน แต่กลับให้คนไข้ หยุดพัก 30 วัน , ซึ่งมีผู้เสียหาย ที่อาจเป็น บริษัท มาร้องเรียน กับแพทยสภา จะต้องถูกตั้งกรรมการสอบ , ส่วนกรณี แพทย์ ออก ผลการรักษา อันเป็นเท็จ เพื่อเอื้อประโยชน์ทางคดีความ นอกจาก มีความผิดทางจริยธรรม โดยการทุจริตในวิชาชีพ ,
ยังมีความผิด “คดีอาญา “ ฐาน “ ออกเอกสารอันเป็นเท็จ “

ออกใบรับรองแพทย์ เลื่อนไปศาล อุทาหรณ์ของแพทย์ที่ไม่ควรเกิด

นายแพทย์ สมศักดิ์ เล่าว่า 10 ปีก่อน เคยเกิดเหตุการณ์ที่แพทย์ ออก ใบรับรองแพทย์ เป็นเท็จให้กับ คนรู้จัก ซึ่งเคยมีบุญคุณช่วยเหลือเกื้อกูลกันมาก่อน เพื่อที่จะขอเลื่อนการไปศาล แพทย์ ท่านนั้น เกรงใจและคิดว่าเลื่อนไปไม่กี่วันคงไม่เป็นอะไร แต่ปรากฏว่า มีการฟ้องร้องขึ้นมาว่า แพทย์ออกใบรับรองแพทย์ ไม่เป็นความจริง ก่อนที่แพทย์ท่านนั้นจะได้รับโทษจากการกระทำความผิดทางจริยธรรม กลับตัดสินใจปลิดชีพตัวเองหนีความผิดทันที

เมื่อพูดถึงประเด็น “ ใบรับรองแพทย์ “ , มีข้อมูลจาก นายแพทย์ พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )
ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ ( กระดูกและข้อ ) เจ้าของเว็บบล็อก ได้เขียน ให้ความรู้เกี่ยวกับ “ใบรับรองแพทย์ ... ใช้ผิด ติดคุกได้ “

ประชาชน ที่ ร้องขอ แพทย์ ให้ ออกใบรับรอง ทั้งที่ รู้ว่าไม่ถูกต้อง และ นำใบรับรอง นั้น ไปใช้ มีความผิดตาม กฎหมาย อาญา มาตรา 269 (ผู้ใดทุจริต ใช้ หรืออ้างคำรับรองอันเกิดจาก การกระทำผิด ) ต้อง ระวางโทษ จำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือ ปรับไม่เกิน 4 พันบาท , หรือ ทั้งจำ ทั้งปรับ

ใบรับรองแพทย์เท็จ คือ การที่ หมอ ออก ใบรับรองแพทย์ ที่ไม่เป็นความจริง , ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 269 ผู้ใดในการประกอบการงานในวิชาแพทย์ กฎหมาย บัญชีหรือวิชาชีพอื่นใด

ทำคำรับรองเป็นเอกสารอันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน ต้องระวางโทษจำคุก ไม่เกิน 2 ปี หรือ ปรับไม่เกิน 4,000 บาท , หรือ ทั้งจำ ทั้งปรับ

"#ใบรับรองแพทย์ปลอม" คือ ผู้ที่ไม่ได้เป็นแพทย์ แต่กลับกระทำการ ออก ใบรับรองแพทย์ , มีความผิดตามกฎหมายอาญา มาตรา 264 ฐาน “ ปลอมเอกสาร ไม่ว่าจะกระทำ ทั้งฉบับ – บางส่วน , หรือ นำใบรับรองแพทย์ ฉบับจริง มาแก้ไข ข้อความ – ประทับตรา ,
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน3 ปี , หรือ ปรับไม่เกิน 6 พันบาท , หรือ ทั้งจำ ทั้งปรับ

คุณหมอหมู ยังเล่า ตัวอย่างที่เจอบ่อยๆ จากผู้ที่มาขอ ใบรับรองแพทย์ ได้แก่ - เมาเหล้า แล้วให้ลงประวัติว่าเป็นไข้ จะขอลางาน - มาตรวจวันนี้ แต่ขอให้เขียนว่าให้ลาตั้งแต่ 3 วันก่อน - จะมาฉีดโบท็อกซ์ แต่ขอให้เขียนว่าเป็นกระเพาะปัสสาวะอักเสบ ไม่งั้นไม่ฉีด 555+ เชิญคลินิกอื่นเลยจร้า ฯลฯ บอกเลยออกให้ไม่ได้จริงๆจร้า

ที่นี้ มาทำความเข้าใจกันว่า "ใบความเห็นแพทย์" กับ “ใบรับรองแพทย์ “ ต่างกันอย่างไร
พลอากาศตรี นายแพทย์ อิทธพร คณะเจริญ เลขาธิการแพทยสภา ได้โพสต์ เฟซบุ๊ก อธิบายไว้ อย่างชัดเจน

https://www.facebook.com/ittaporn/posts/pfbid028fvXNaTp7ab6esHvWocmwYuGMJj3931Edxm7hxi6mwudDv1HuKf9wqfFodpshQMGl


ปรึกษา ร้องเรียน
สอบถามเพิ่มเติม