มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค
ให้คำปรึกษาผ่านโทรศัพท์ 02 248 3737
ให้คำปรึกษาผ่านโทรศัพท์
Consumer Thai Facebook page

< กลับไปหน้ารวมข่าว

บัตรทอง ตจว.สามารถลงทะเบียนใช้สิทธิ์ใน กทม.

เขียนโดย: มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค

เขียนเมื่อ: 07-07-2023 15:36

หมวดหมู่: บริการสุขภาพ

ภาพประกอบข่าว

ข่าวดี! ผู้มี ‘สิทธิบัตรทอง’ ที่อยู่ต่างจังหวัด แต่เข้ามาพักอาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ สามารถลงทะเบียนใช้สิทธิตามหน่วยบริการสาธารณสุข หรือ สถานพยาบาล พร้อมรับบริการได้ทันที

ปัจจุบัน คนต่างจังหวัดกว่า 7 แสนราย ที่มีสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือ บัตรทองหรือบัตร 30 บาท ได้เข้ามาทำงาน, ศึกษาเล่าเรียน, หรือพักอาศัยอยู่ใน กทม. เป็นระยะเวลานาน แต่ไม่ได้ย้ายทะเบียนบ้าน หากเกิดปัญหาเจ็บไข้ได้ป่วย จะต้องเดินทางกลับภูมิลำเนา เพื่อใช้สิทธิตามหน่วยบริการปฐมภูมิ ทำให้เกิดความยากลำบาก

ดังนั้น นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นผู้เสนอแนวนโยบาย เมื่อ 6 เดือนก่อนและนายแพทย์ จเด็จ ธรรมธัชอารี เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ที่เป็นผู้สนองตอบให้ความร่วมมือหลังการเข้าพบหารือ กระทั่ง มีความเห็นร่วมกัน ต้องการให้ ประชากรแฝงกว่า 7 แสนราย สามารถ ลงทะเบียน ‘เปลี่ยนสถานพยาบาลประจำตัว’ มาใช้สิทธิที่ กทม. พร้อมเข้ารับบริการทันที โดยหากเป็นผู้ป่วยนอกสามารถรับบริการปฐมภูมิที่ไหนก็ได้ ถือเป็นการเพิ่มทางเลือกใหม่ และ หากโรงพยาบาลในระบบบัตรทองเตียงเต็ม ทาง สายด่วน สปสช. 1330 จะประสานส่งต่อไปยังโรงพยาบาลเอกชนที่เข้าร่วม เพื่อการเข้าถึงบริการ รักษาพยาบาลได้อย่างรวดเร็ว ไม่ต้องรอคิวนาน

ซึ่งข่าวดีข้างต้น มาจากการแถลงข่าวร่วมกันของทั้ง 2 ฝ่าย วันที่ 7 กรกฏาคม 2566 พร้อมเชิญชวน ผู้มี ‘สิทธิบัตรทอง’ ที่อยู่ต่างจังหวัด แต่เข้ามาพักอาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ
สามารลงทะเบียนใช้สิทธิตามหน่วยบริการสาธารณสุข ในกรุงเทพ ฯ แต่ไม่จำเป็นต้องย้ายทะเบียนบ้านมา โดยใช้หลักฐานอย่างใดอย่างหนึ่ง ได้แก่ หนังสือรับรองของเจ้าของบ้าน , หนังสือรับรองของผู้นำชุมชน , หนังสือรับรองผู้ว่าจ้างหรือนายจ้าง , และ เอกสารหรือหลักฐานที่มีชื่อของผู้ประสงค์ลงทะเบียน เช่น ใบเสร็จ ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าเช่าที่พัก สัญญาเช่าที่พัก ฯลฯ โดย สปสช. ผนึกเครือข่ายหน่วยบริการ (สถานพยาบาล)

  • ศูนย์บริการสาธารณสุข 69 แห่ง
  • ร่วมกับคลินิกชุมชนอบอุ่นเกือบ 300 แห่ง
  • รองรับประชากรแฝงกว่า 7 แสนรายที่มาทำงาน/ศึกษา/พักอาศัย ใน กทม. แต่ไม่ได้ย้ายทะเบียนบ้าน

ทั้งนี้ สามารถลงทะเบียนออนไลน์ได้ 2 ช่องทาง ได้แก่ แอปพลิเคชัน สปสช. โดยดาวน์โหลดแอปฯ “สปสช.” ได้ทั้งระบบ Android และ iOS เลือกเมนูเปลี่ยนหน่วยบริการด้วยตนเองอีกข่องทางคือ ลงทะเบียนผ่านไลน์ OA สปสช. โดยแอดไลน์ สปสช. พิมพ์ค้นหา Line ID @nhso เลือกเมนู เปลี่ยนหน่วยบริการด้วยตนเอง

สามารถ ตรวจสอบรายชื่อหน่วยบริการประจำ (สถานพยาบาล) ที่เปิดให้ลงทะเบียน ได้ที่ http://mscup.nhso.go.th/mastercup เลือกพื้นที่กรุงเทพมหานคร และเลือกเขตที่พักอาศัยจริง

หรือหากใครไม่สะดวกใช้ระบบ ON LINE มีข้อแนะนำจาก เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ว่า สามารถนำบัตรประชาชน หรือ แอปพลิเคชัน THAI ID ไปรับบริการลงทะเบียน ที่ “ คลินิกชุมชนอบอุ่น “ ทั้ง 276 แห่งทั่วกรุงเทพฯ, สปสช. ชั้น 2 อาคารบี (ทิศตะวันตก) ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ ถ.แจ้งวัฒนะ กรุงเทพฯ (วันและเวลาราชการ) , หรือ โทร.สายด่วน สปสช. 1330

ปนเมื่อลงทะเบียนเสร็จสิ้น จะได้รับการดูแลทันที ส่วนการใช้สิทธิเข้ารับบริการ ต้องติดต่อที่หน่วยบริการปฐมภูมิ/หน่วยบริการประจำของผู้มีสิทธิบัตรทอง กรณีเกินศักยภาพจะส่งตัวไปหน่วยบริการที่รับส่งต่อ โดยต้องแจ้งความจำนงใช้สิทธิบัตรทองก่อนรับบริการและแสดงบัตรประจำตัวประชาชน และ ไม่ต้องกังวลใจหากลงทะเบียนใช้สิทธิบัตรทอง ที่ กรุงเทพฯ แต่อาจมีเหตุต้องกลับไปภูมิลำเนาเดิม หากเป็นระยะสั้น ไม่จำเป็นต้องย้ายสิทธิ์ กลับไป-มา แต่ หากกลับภูมิลำเนาเดิมถาวร ก็สามารถย้ายสิทธิบัตรทองไปตามถิ่นที่อยู่ได้ โดยในช่วง 1 ปี ผู้ถือบัตรทองสามารถ เปลี่ยนสิทธิ ได้ 4 ครั้ง ซึ่งระบบทั่วประเทศ รองรับการเปลี่ยนแปลงได้ทั้งหมด ซึ่งข้อมูลการลงทะเบียนของผู้ใช้สิทธิ์บัตรทองจากต่างจังหวัดมาใช้บริการที่กรุงเทพฯ ถือเป็นเป็นหัวใจสำคัญในการจัดสรรสถานพยาบาล และงบประมาณ เพื่อให้การดูแลเพิ่มเติม หากในอนาคต ทำได้ผลในกรุงเทพฯ ทางสปสช. จะนำบทเรียนนี้ไปใช้กับจังหวัดต่างๆ เพิ่มเติม

ด้าน ผู้ว่ากทม. บอกว่า ปัจจุบันประชากรแฝง 7 แสนราย ที่อยู่ในกรุงเทพฯ หากมาลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ บัตรทอง ในกรุงเทพฯ จะทำให้ได้ตัวเลขที่ชัดเจน เพื่อส่งมอบบริการสุขภาพได้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ซึ่งแนวปฏิบัตินี้ เพิ่งเริ่มต้น จึงจำเป็นต้องปรับปรุง และหากเป็นไปได้ คนต่างจังหวัดที่เข้ามาทำงานในกรุงเทพฯ ยาวนาน 1 ปี ขึ้นไป ขอแนะนำให้ย้ายสำเนาทะเบียนบ้าน มาอยู่ กทม. เพื่อจะได้ทราบ ตัวเลขประชากร ที่แท้จริง อีกทั้ง จะได้รับการแบ่งปันภาษีต่างๆ จากส่วนกลางให้เหมาะสม พร้อมกันนี้ จะปรับปรุงระบบ “Traffy Fondue” (ทราฟฟี่ ฟองดูว์) ให้ผู้มีสิทธิ์บัตรทองมีช่องทางแจ้งเรื่องสุขภาพ ซึ่งจะเชื่อมโยงกับระบบของ สปสช. ได้ทันที


ปรึกษา ร้องเรียน
สอบถามเพิ่มเติม