มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค
ให้คำปรึกษาผ่านโทรศัพท์ 02 248 3737
ให้คำปรึกษาผ่านโทรศัพท์
Consumer Thai Facebook page

< กลับไปหน้ารวมข่าว

คืนรถให้ไฟแนนซ์ จบ & ไม่จบ ? ตอนที่ 7 ผ่อนรถไม่ไหวยังมีทางออกพิชิตหนี้

เขียนโดย: มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค

เขียนเมื่อ: 16-05-2023 15:34

หมวดหมู่: การเงิน การธนาคาร

ภาพประกอบข่าว

คืนรถให้ไฟแนนซ์ จบ & ไม่จบ ?

ตอนที่ 7 : ผ่อนรถไม่ไหวยังมีทางออกพิชิตหนี้

ถาม : เงินช็อต ผ่อนรถต่อไม่ไหว ทำไงดี ค้างไฟแนนซ์มา 2 งวด แล้วนะ เราจะปล่อยให้ขาดส่งจนครบ 3 งวด ให้ ไฟแนนซ์ยึดไปเลยดีมั้ย แต่พอถูกเอาไปขายทอดตลาด ก็ยังต้องเจอหนี้ส่วนต่างอีกอยู่ดี ทำยังไงได้บ้าง ? ใครพอจะมีวิธีอื่นๆ ช่วยบอกเราหน่อยเถอะ เพราะไม่อยากเห็นภาพที่บาดหัวใจ ตอนเห็นรถที่เรารักเหมือนลูก ต้องถูกยึดไปต่อหน้าต่อตา

ตอบ : เมื่อรู้ตัวแล้ว ว่า สภาพคล่องทางการเงินสั่นคลอน จนค้างจ่ายงวดค่ารถ ก่อนโดนไฟแนนซ์ยึดรถจะโดนตามหนี้ทุกรูปแบบ (แต่ถูกกฎหมาย) นั่นคือ หลังจากที่ค้างค่างวดรถมาแล้ว 3 งวด หรือแปลเป็นวันคือค้างค่างวดรถมาแล้ว 90 วัน ถ้าแปลเป็นเดือนคือค้างค่างวดรถมาแล้ว 3 เดือน คุณจะโดนติดตามทวงถามหนี้โดยจะได้รับจดหมายทวงหนี้ที่ค้างและขอบอกเลิกสัญญา ซึ่งในระหว่างนี้สัญญาเช่าซื้อยังไม่ขาด คุณมีเวลาอีก 30 วัน นับจากวันที่คุณได้รับ จม. (ยึดตามตราประทับไปรษณีย์) ซึ่งแน่นอนว่าเป็นการทวงหนี้ที่ถูกกฎหมาย

แต่ยังไม่ต้องตกใจไป.. รถยังอยู่กับเรา สรุปง่าย ๆ คือ คุณมีระยะเวลาในการเคลียร์หนี้ทั้งหมดราว 4 เดือน เพราะฉะนั้น ถ้ายังอยากรักษารถเอาไว้ใช้งาน คุณจะใช้วิธิ ชำระหนี้ค่างวดไป 1-2 งวดก่อน โดยไม่ต้องเพิ่มยอดค่าปรับค่าทวงถาม ซึ่งเอาไว้รวบยอดจ่ายงวดสุดท้ายหรือแยกจ่ายถ้ามี จม.แจ้งให้จ่าย) หรือการ รีไฟแนนซ์รถยนต์ คงเป็นทางเลือกอีกทางเลือกหนึ่ง..แล้วจะทำอย่างไร ? วิธีน่ะสิ

เพจเฟซบุ๊ก สำนักงานกิจการยุติธรรม ได้โพสต์ข้อมูลไว้ว่า #กฎหมายใหม่ 51.2 ผ่อนรถต่อไม่ไหว ควรไปต่อหรือพอแค่นี้ https://justicechannel.org/new-laws/newlaw51-2

การค้างชำระค่างวดรถ 3 งวดติดกัน และได้รับหนังสือแจ้งจากไฟแนนซ์ให้ชำระค่างวดที่ค้างไว้ อย่างน้อย 30 วัน (รวมเวลาประมาณ 4 เดือน ก่อนถูกยึดรถ) มี 3 ทางเลือกก่อนรถถูกยึด ได้แก่

1.ปรับโครงสร้างหนี้ขอปรับลดค่างวด ยืดเวลาการผ่อนชำระ หรือผ่อนชำระ แบบขั้นบันได

2.รีไฟแนนซ์ใหม่ ขอสินเชื่อก้อนใหม่มาจ่ายเงินกู้ก้อนเดิมหรือลดดอกเบี้ยให้ต่ำลง ยืดระยะเวลาให้นานขึ้น

3.เปลี่ยนสัญญาผู้เช่าซื้อโอนสิทธิ์หรือการเปลี่ยนสัญญารถ ให้ผู้อื่นมาเป็นผู้เช่าซื้อรถแทน โดยผู้เช่าซื้อคนใหม่จะเข้ามาเป็นคู่สัญญาโดยตรง รับหน้าที่ผ่อนชำระค่างวดเช่าซื้อ ครอบครองและใช้รถที่เช่าซื้อ

เพราะหากไม่ชำระค่างวดที่ค้าง ผู้ให้เช่าซื้อ ( ไฟแนนซ์ ) มีสิทธิ "ส่งหนังสือขอกเลิกสัญญาเช่าซื้อ" และติดตาม "ยึดรถ" คืนได้

ดังนั้น อย่าเพิกเฉยต่อเหตุการณ์นี้ ในเมื่อคุณมีโอกาสที่จะรักษาเครดิตหนี้ ทำเลยเดี๋ยวนี้ เพราะถ้าปล่อยเอาไว้เฉยๆ ก็จะถูกยึดรถในที่สุด

สิ่งที่คุณควรทำ คือ รีบไปแจ้งเรื่องกับไฟแนนซ์รถยนต์ จะเลือก 1 ใน 3 วิธีไหน ก็แล้วแต่ความสะดวก ของแต่ละคน

ถ้าหากเลือก ปรับโครงสร้างหนี้แบบขอปรับลดค่างวด ยืดเวลาการผ่อนชำระ หรือผ่อนชำระ แบบขั้นบันได

รถก็ยังคงเป็นชื่อเรา โดยไฟแนนซ์มีแนวทางช่วยเหลือลูกหนี้ เช่น การปรับลดค่างวด ยืดเวลาการผ่อนชำระออกไป หรือ อาจจะเสนอการผ่อนชำระแบบขั้นบันได ที่หมายถึง การผ่อนจำนวนน้อยๆ ในช่วงที่มีปัญหา แล้วค่อยๆ ปรับเพิ่มสูงขึ้น เมื่อปัญหาเบาลง เพื่อให้เหมาะสมกับความสามารถในการผ่อนตามระยะเวลา แต่การผ่อนชำระแบบขั้นบันได มักต้องเจอกับดอกเบี้ยที่เพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อยๆ จึงไม่ค่อยเป็นทางเลือกที่ดีเท่าไหร่นักในระยะยาว ถ้าหากต้องการปรับโครงสร้างหนี้ ก็ควรรีบดำเนินการก่อนที่จะเริ่มค้างชำระเพื่อเป็นการรักษาประวัติเครดิตของตัวเราเอง เพราะประวัตินี้จะไปปรากฏอยู่ในข้อมูลของบริษัทไฟแนนซ์ รวมถึง บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด หรือที่เรียกว่า เครดิตบูโร นั่นเอง และหากเรายิ่งรีบปรับ ก็จะทำให้โครงสร้างนี้ของเรากลายเป็น “สินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้” หรือ NPL ที่ยังได้รับการยกเว้น และไม่ต้องรายงานการปรับโครงสร้างหนี้ไปยัง เครดิตบูโร

ถ้าหากเลือก รีไฟแนนซ์ใหม่ ขอสินเชื่อก้อนใหม่มาจ่ายเงินกู้ก้อนเดิมหรือลดดอกเบี้ยให้ต่ำลง ยืดระยะเวลาให้นานขึ้น วิธีนี้อาจทำให้เราต้องเปลี่ยนสัญญาเช่าซื้อรถยนต์ ซึ่งมี 2 ทางเลือกหลักๆ นั่นคือ รีไฟแนนซ์กับธนาคารเดิม โดยศึกษารายละเอียดต่างๆ เช่น เงื่อนไขหรืออัตราดอกเบี้ยปัจจุบัน หรือการประเมินราคารถยนต์ ซึ่งเราอาจจะได้รับดอกเบี้ยที่ถูกลงอีกด้วย หรือ รีไฟแนนซ์ด้วยการย้ายธนาคารหรือสถาบันการเงินแห่งใหม่ ที่มีเงื่อนไขตรงตามความต้องการ ข้อดีหลักๆ ในการรีไฟแนนซ์ก็จะมาในรูปแบบ ช่วยให้เงินผ่อนต่องวด/เดือน น้อยลง รวมถึงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ครั้งใหม่ที่ลดลง และที่เด่นชัดสำหรับใครที่ฉุกเฉินเรื่องเงินอยู่เพราะเรามีโอกาสได้เงินส่วนต่างเพื่อนำมาใช้จ่ายได้ ก็จะมีผลต่าง ๆ ตามมา เช่น ทำให้ระยะเวลาผ่อนชำระนานขึ้น หรือมีค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในการดำเนินการรีไฟแนนซ์ใหม่ ซึ่งในบางกรณีอาจมีค่าปรับในการไถ่ถอนก่อนกำหนดนั่นเอง ถึงแม้ การรีไฟแนนซ์รถยนต์ ถือเป็นวิธีที่ดีที่สุดเมื่อผ่อนรถต่อไม่ไหว เหมาะกับคนที่มีปัญหาเรื่องการชำระหนี้ โดยการรีไฟแนนซ์รถยนต์จะช่วยปรับลดค่างวดให้จำนวนเงินเบาลง หรือยืดเวลาการผ่อนรถยนต์ให้ระยะเวลานานขึ้น แต่คุณก็ต้องยอมแลกกับดอกเบี้ยที่สูงขึ้นด้วย ซึ่งถ้ายังอยากมีรถยนต์ไว้ใช้งานก็ต้องยอม และการรีไฟแนนซ์รถยนต์ต้องรีบทำก่อนที่จะเริ่มผ่อนรถไม่ไหวเพื่อให้ประวัติไม่เสีย

ถ้าหากเลือกวิธีการเปลี่ยนสัญญาเช่าซื้อรถ ให้ผู้อื่นมาเป็นผู้เช่าซื้อรถแทน โดยผู้เช่าซื้อคนใหม่จะเข้ามาเป็นคู่สัญญาโดยตรง รับหน้าที่ผ่อนชำระค่างวดเช่าซื้อต่อ และครอบครองใช้รถที่เช่าซื้อ ซึ่งการเปลี่ยนโอนสิทธิ์ ผู้เช่าซื้อ เรียกว่า การเปลี่ยนสัญญารถ หรือเปลี่ยนชื่อคนผ่อนรถใหม่ หากใครที่ไม่ต้องการเก็บรถคันนี้ไว้ ก็สามารถใช้วิธีนี้ได้ ซึ่งไม่เพียงแต่เท่านั้น หากเราต้องการรถคันนี้อยู่ เราก็สามารถเปลี่ยนชื่อคนผ่อนรถด้วยวิธีนี้นั่นเอง ซึ่งจริงๆ แล้ววิธีการเปลี่ยนชื่อผู้เช่าซื้อเป็นวิธีการที่ผู้เช่าซื้อต้องการเปลี่ยนสัญญารถ ให้กับผู้อื่นมาเป็นผู้เช่าซื้อรถแทน โดยผู้เช่าซื้อคนใหม่จะเข้ามาเป็นคู่สัญญาโดยตรงกับผู้ให้เช่าซื้อ และต้องรับไปซึ่งสิทธิและหน้าที่ในสัญญาเช่าซื้อ นั่นหมายความว่า ผู้เช่าซื้อคนเก่าจะไม่มีผลผูกพันกับผู้ให้เช่าซื้อแล้ว หากคนเช่าซื้อคนใหม่ (ที่เปลี่ยนสัญญา) ค้างค่างวดรถ เราก็จะไม่ถูกทวงถาม ไม่ถูกฟ้องคดี

บุคคลที่เข้ามารับโอนสิทธิ์จะเป็นผู้ผ่อนชำระค่างวดเช่าซื้อ และเป็นผู้ครอบครองและใช้รถที่เช่าซื้อ ต่อจากเรา หากเราจะเปลี่ยนสัญญาให้ชื่อคนผ่อนรถให้เป็นคนในครอบครัวก็สามารถทำได้ด้วยวิธีนี้ อีกทั้งวิธีนี้ยังสามารถรักษาประวัติการผ่อนชำระของเราได้ หากเรากังวลถึงการผ่อนชำระวิธีนี้ก็เป็นอีกหนึ่งในทางเลือกดีๆ นั่นเอง แต่คนที่จะมาเปลี่ยนสัญญากับเรา เขาจะต้องยื่นเอกสารให้ไฟแนนซ์พิจารณาเหมือนกับที่ต้องยื่นซื้อรถใหม่ทุกประการ

แถมท้าย ในกรณีที่ฮึดสู้ต่อ ไม่อยากเสียรถยนต์ที่รักให้ใคร ไม่อยากปล่อยให้รถยนต์ถูกยึด ไม่อยากจำใจขายรถยนต์ทิ้งไป ถ้าผ่อนรถไม่ไหวก็มีการ” คืนรถให้ไฟแนนซ์ไม่เสียค่าส่วนต่าง (จริงหรือ?) “มาติดตามกันต่อในตอนที่ 8

เครดิต : กิตติศักดิ์ ธนันณัฏฐ์ ทนายความมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค จากเรื่อง “🚗คืนรถให้ไฟแนนซ์ จบ & ไม่จบ ?


ปรึกษา ร้องเรียน
สอบถามเพิ่มเติม