คืนรถให้ไฟแนนซ์ จบ & ไม่จบ ?ตอนที่ 6 : ไฟแนนซ์ขายรถทอดตลาดต้องแจ้งลูกหนี้
เขียนโดย: มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค
เขียนเมื่อ: 24-04-2023 13:54
หมวดหมู่: การเงิน การธนาคาร

คืนรถให้ไฟแนนซ์ จบ & ไม่จบ ?
ตอนที่ 6 : ไฟแนนซ์ขายรถทอดตลาดต้องแจ้งลูกหนี้
ถาม : เราสงสัยจังเลย มีเพื่อนบอกว่าถูกไฟแนนซ์ยึดรถเอาไปขายทอดตลาด แต่ไม่รู้เลยว่า เอาไปขายที่ไหน เมื่อไหร่ คือ จะได้ตามไปดูไง ว่า ขายได้ยอดเท่าไหร่ เพราะเจอถูก เก็บหนี้ส่วนต่างอีกตั้งหลายแสน
ตอบ : แต่ก่อนเคยมีเหตุแบบนั้น เวลาไฟแนนซ์ เอารถไปประมูลขาย แต่กลับไม่ยอมแจ้ง ผู้เช่าซื้อเดิม ... เดี๋ยวนี้ไม่ได้แล้วนะ เพราะหากไม่แจ้ง เมื่อไฟแนนซ์ฟ้องเรียกหนี้ส่วนต่างแล้วลูกหนี้ยกเรื่องนี้มาสู้ ศาล ยกฟ้อง ได้ นั่นเป็นเพราะ ประกาศ “ คณะกรรมการสัญญา “ เรื่อง ให้ธุรกิจให้เช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์เป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา” และ สัญญาเช่าซื้อแต่ละแบงก์เป็น “ สัญญาบังคับหรือเรียกว่าแบบสัญญาควบคุม ที่จะต้อง “ ระบุข้อความไว้ชัดเจน ว่า หลังจากที่ “ผู้ให้เช่าซื้อ ( ไฟแนนซ์ ) “ ยึดรถคืนหรือได้รับรถคืนจาก ผู้เช่าซื้อ ( ลูกหนี้ ) ก่อนที่จะขายรถทอดตลาดรถ จะต้องมีหนังสือแจ้ง ผู้เช่าซื้อ ให้รับทราบ วัน - เวลา และ สถานที่ขาย ล่วงหน้า อย่างน้อย 7 วัน หากไฟแนนซ์ ไม่ยอมแจ้ง , ศาล ยกฟ้อง ทุกกรณี เพราะถือว่า ทำไม่ถูกต้องตามสัญญา และ กฎหมาย
ที่สำคัญ กฎหมาย กำหนดไว้ชัดเจน “ ไฟแนนซ์ ต้องส่ง “ จดหมายลงทะเบียน “ เท่านั้น โดยต้องส่งตามที่อยู่ ที่แจ้งไว้ ณ ขณะทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์ หรือ สถานที่ ที่ได้มีการแจ้งเปลี่ยนที่อยู่ (แจ้งเปลี่ยนด้วย จดหมายลงทะเบียน) ... ถ้าหากไฟแนนซ์ ไม่ทำตามนี้หรือส่งจดหมายไปตามที่อยู่เดิม ศาล ยกฟ้องได้ ) เช่น ผู้เช่าซื้อทำสัญญา ให้ส่ง จดหมาย ไปที่ บริษัทซื่งเป็นสถานที่ทำงาน แต่ไฟแนนซ์ กลับส่งเอกสารไปที่บ้าน แบบนี้ ถือว่า เป็นการส่งจดหมายหรือคำบอกกล่าว โดยไม่ชอบ ผลเท่ากับว่าไม่มีการจดหมายแจ้ง ถึงแม้ไฟแนนซ์ ส่งหนี้ส่วนต่างมาให้ผู้เช่าซื้อ แต่กลับไม่ยอมแจ้ง วัน - เวลา - สถานที่ขาย ผู้เช่าซื้อยกเป็นข้อต่อสู้ให้ศาล ยกฟ้องได้ (นัยคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 31/2560)
การทำจดหมายแจ้งให้ ผู้เช่าซื้อรถ รับทราบ วัน-เวลา - สถานที่ ในการประมูลขายทอดตลาด เพื่อให้ ได้ใช้สิทธิซื้อรถยนต์กลับคืนตามมูลหนี้ส่วนที่ขาดอยู่ตามสัญญาเช่าซื้อ( หลังคืนรถไปแล้ว ) หรือเพื่อดูการขายทอดตลาดรถยนต์ที่เช่าซื้อมีความเหมาะสมถูกต้องตามหลักเกณฑ์การขายทอดตลาดโดยทั่วไปหรือไม่ ส่วน ผู้ค้ำประกัน ต้องได้รับการบอกกล่าวจากไฟแนนซ์ เท่าเทียมกับ ผู้เช่าซื้อ มิเช่นนั้น หาก ไฟแนนซ์ ฟ้องเรียกค่าส่วนต่างจากลูกหนี้ ผู้ค้ำประกันหยิบยกประเด็นนี้มาต่อสู่ได้ .. เช่นกัน
ปัจจุบันนี้เวลาไฟแนนซ์ ขายรถที่ยึดมา จะ “ขายทอดตลาด “ เฉพาะ 2 ช่องทาง พร้อมกัน ได้แก่ บริษัทจัดการประมูลซึ่งเป็นลานประมูลรถยนต์ และ มีการประมูลรถยนต์ผ่านออนไลน์ พร้อมๆ กัน และนี่เป็นข้อควรรู้ เมื่อไฟแนนซ์มายึดรถหรือเราคืนรถแล้ว เขาจะเอาไปขายทอดตลาด ฉะนั้น ลูกหนี้ในฐานะผู้เช่าซื้อเดิมที่ยังไม่หมดภาระหนี้สิน ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด อย่าคิดแค่ว่า รถถูกยึดหรือคืนรถไปแล้วก็ช่างมันเถอะ เพราะรถยนต์ถูกนำไปขายทอดตลาด มีหนี้ส่วนต่างที่ยังต้องชดใช้
แต่เอาละ มีรถบางคันที่ผู้เช่าซื้อรักเหมือนลูก ไม่อยากถูกยึด ถ้าหากไฟแนนซ์มีหนังสือแจ้ง ให้ชำระหนี้ส่วนที่เหลือ อย่าตกใจกับค่าเสียหายของไฟแนนซ์ที่มักจะสูงจนเวอร์ เพราะยังมีอีกหลายวิธีนอกเหนือจากคืนรถ มาตามกันต่อ ตอนที่ 7 : ผ่อนรถไม่ไหวยังมีทางออกพิชิตหนี้
เครดิต : กิตติศักดิ์ ธนันณัฏฐ์ ทนายความมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค จากเรื่อง “🚗คืนรถให้ไฟแนนซ์ จบ & ไม่จบ ?