มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค
ให้คำปรึกษาผ่านโทรศัพท์ 02 248 3737
ให้คำปรึกษาผ่านโทรศัพท์
Consumer Thai Facebook page

< กลับไปหน้ารวมข่าว

“จดแจ้ง” จาก อย. ช่องโหว่ผลิตภัณฑ์อันตราย ผู้บริโภครับกรรม

เขียนโดย: มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค

เขียนเมื่อ: 21-11-2022 14:30

หมวดหมู่: อาหาร ยา และผลิตภัณฑ์สุขภาพ

ภาพประกอบข่าว

“จดแจ้ง” จาก อย. ช่องโหว่ผลิตภัณฑ์อันตราย ผู้บริโภครับกรรม !

ขั้นตอน”จดแจ้ง” จาก อย. เปิดช่องเครื่องสำอางอันตรายเกลื่อนตลาด องค์กรผู้บริโภคประกาศผนึกภาคึเครือข่ายรุกคืบคุ้มครองแบบบูรณาการ

จากข่าวฟิลิปปินส์ตรวจพบเครื่องสำอางของไทย 8 ยี่ห้อ ลักลอบขายผ่านออนไลน์ มีสารปรอทเจือปนสูงกว่ามาตรฐานหลายหมื่นเท่า ! จึงเรียกร้องรัฐบาลทั้ง2ประเทศผนึกกำลังหยุดยั้งปัญหาอย่างเร่งด่วน ทั้งยับยั้งการผลิต การนำเข้า-ส่งออก โดยต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติเครื่องสำอางแห่งอาเซียนและอนุสัญญามินามาตะว่าด้วยปรอท ยังคาดหวังที่จะเห็นหน่วยงานด้านสาธารณสุขและศุลกากรของทั้งสองรัฐบาลยกระดับการดำเนินการเพื่อปกป้องสุขภาพมนุษย์และระบบนิเวศจากสารปรอท ในเครื่องสำอาง”

อ่านรายละเอียดจาก ลิงก์ เพจ มูลนิธิบูรณะนิเวศ

https://www.facebook.com/EarthEcoAlert/posts/pfbid028nrVq6VVfhuQrFn1TqsM1npJbqscB73WcijKM8K484PZGCke1NTV5WP4jdB8kzZml

จากเหตุนี้ องค์กรคุ้มครองผู้บริโภค มีความกังวล จึงเสนอแนวคิดแก้ปัญหาแบบบูรณาการ fh;pdkiเดินหน้าผนึกกำลังภาคีเครือข่าย เพื่อกระตุ้นให้หน่วยงานภาครัฐที่กำกับดูแล เร่งดำเนินนโยบายในการร่วมมือป้องกันและแก้ไขมลพิษสารปรอทปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อม ซึ่งประชาคมอาเซียนจัดทำเป็นพิมพ์เขียว ( Blueprint ) ปักหมุดเดินหน้า ปี ค.ศ. 2025 ( พ.ศ.2567 )

ภญ.ชโลม เกตุจินดา ที่ปรึกษาเครือข่ายผู้บริโภคจังหวัดสงขลา ให้สัมภาษณ์ กับ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ( 21 พ.ย. 65 ) ว่า อย. ทั้ง 2 ประเทศ ต้องหารือเพื่อยกระดับจัดการปัญหาอย่างเข้มงวด เพราะเครื่องสำอางไทย 8 ยี่ห้อ ตรวจพบสารปรอทมีความเข้มข้นสูงถึง 44,540 ppm ถือเป็นการ “จงใจใส่ “ เพราะสูงเกินจากที่กฎหมายกำหนดให้มีได้ ไม่เกิน 1 ppm ระดับนี้ถึงจะเรียกว่า “ ปนเปื้อน

ดังนั้น ไทย – ฟิลิปปินส์ ต้อง ผนึกกำลังจัดการปัญหาให้ยุติ ต้องเร่งใช้ POST MARKETING หรือ “มาตรการเฝ้าระวังในพื้นที่ “ อย่างมีประสิทธิภาพ และ เข้มแข็ง

ภญ. ชโลม ยังชี้ให้เห็นถึงปัญหากลุ่มผลิตภัณฑ์อาหารเสริมและเครื่องสำอางที่พบสารปนเปื้อนหลายชนิดโดยเฉพาะ สารปรอท ถึงแม้เกิดขึ้นในไทยมานานหลายสิบปีแต่ยังแก้ปัญหาไม่สำเร็จ เป็นเพราะ กระบวนการ“ จดแจ้ง “ ของ อย. มีช่องโหว่ โดยพยายามเน้นแค่ให้เกิด ONE STOP SERVICE ในเชิงเศรษฐกิจ แต่ไม่สามารถตรวจสอบการมีอยู่จริงของโรงงานที่ผลิตสินค้า แถมอนุมัติให้ทั้งหมดที่มีผู้ยื่นคำขอและพิจารณาอนุญาตวัตถุอันตรายผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e – Submission) อีกทั้งการติดตามผลหลังออกสู่ตลาด
ที่เรียกว่า POST MARKETING กลับไม่เข้มแข็ง
เนื่องจากแหล่งผลิตส่วนใหญ่เป็นโรงงานขนาดเล็ก แถม เครื่องสำอาง หรือ อาหารเสริม ไม่ถูกบังคับให้ต้องส่งตรวจสารที่ผสม เพียงแค่ส่งสูตร ก็สามารถ ทำเรื่อง “ จดแจ้ง ” ขอเลขทะเบียน นี่แหละปัญหาของการขาดความเข้มงวด ในขั้นตอน “การให้บริการ แถม อย. ยังมีปัญหาไร้อำนาจสั่งการในพื้นที่ต่างจังหวัด เพราะ อำนาจใหญ่อยู่ที่ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ( สสจ. ) เป็นราชการบริหารส่วนภูมิภาค ในสังกัดงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข มีอำนาจใหญ่เทียบเท่า ผู้ว่าราชการจังหวัด ดังนั้น จึงขอเสนอให้ อย. เปิดทางกระจายอำนาจ ในการ รับ จดแจ้ง และ เข้าตรวจโรงงาน โดยต้องไปรื้อระบบ e – Submission

ในส่วนขององค์กรคุ้มครองผู้บริโภคและภาคีเครือข่าย มองเห็นปัญหานี้เช่นกัน ภญ.ชโลม บอกว่า เตรียมเสนอเรื่องไปยัง “ คณะอนุกรรมการอาหาร ยา และ ผลิตภัณฑ์สุขภาพ สภาองค์กรของผู้บริโภค ” ให้เป็นจุดตั้งต้นกระตุ้นหน่วยงานกำกับดูแลโดยตรง เช่น อย. รวมถึง หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ติดตามแนวทางดำเนินการ และ เชิญมาให้ข้อมูลตาม แผนปฏิบัติการของประชาคมอาเซียน ในการปกป้องคุ้มครองผู้บริโภค ป้องกันและแก้ไขมลพิษสารปรอทปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อม ซึ่งประชาคมอาเซียนจัดทำพิมพ์เขียว ( Blueprint ) ปักหมุดเดินหน้า ปี ค.ศ. 2025 ที่สำคัญ อย. ต้องทำหน้าที่และบทบาทที่เข้มข้นมากขื้น มีกระบวนการ เพิกถอน หรือ ทบทวนทะเบียนตำรับยาให้ทันต่อสถานการณ์ส่วน กระบวนการ จดแจ้ง ควรมีการติดตาม กำกับ และบทลงโทษ ให้มากขึ้น จากเดิมที่ปรับสูงสุดแค่ 1 แสนบาท ประเด็น จดแจ้ง ครีมหน้าขาวบางชนิด แสดงฉลากไม่ครบถ้วนตามข้อกำหนด อย. มีบางชนิด มีชื่อ มีตราบรรจุภัณฑ์ เหมือนกัน ทุกอย่าง แต่มีถึง 3 เลข จดแจ้ง

ดังนั้น อย่าปล่อยให้สถานการณ์ควบคุมไม่ได้ เพราะ ผู้บริโภคจะตกอยู่ในความเสี่ยง ต้องใช้ของปลอมเป็นอันตรายต่อสุขภาพ


ปรึกษา ร้องเรียน
สอบถามเพิ่มเติม