ป่วย ไปหาหมอ หรือ ให้หมอมาหา ?????
เขียนโดย: มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค
เขียนเมื่อ: 13-02-2023 10:38
หมวดหมู่: บริการสุขภาพ

ป่วย ไปหาหมอ หรือ ให้หมอมาหา ?????
“ ไม่สบายค่ะ ทำไมเราต้องไปหาหมอ ทำไมหมอไม่มาหาเราบ้าง ”-
กลายเป็น TOP COMMENT หรือ หัวข้อที่ถกเถียงกันอย่างดุเดือด หลังจาก คนไข้รายหนึ่ง หรือ อาจเป็นแค่บางคน ตั้งหัวข้อเรื่องเพื่อเรียกกระแสยอดไลค์ยอดแชร์ บนโลกโซเชียล ผ่านช่องทางเฟซบุ๊ก แต่เชื่อมั้ยว่า กระแสเสียงมากันกระหน่ำ ลองมาดูตัวอย่างกัน
กรณีที่หมอจะมาหาเรา มีกรณีเดียวครับ คือ “ ชันสูตร “
เอาจริงบางที เคสชันสูตร ยังต้องพาไปหาหมอเลยนะ... มีเส้นกั้นบางๆระหว่างคำว่า คนไข้ VS อาจารย์ใหญ่ ดูละครไทยน้ำเน่ามากไปนะเราอ้ะ จะมีหมอไปหาเฉพาะในหนังไทยครับ เรียกร้องอะไรก็ให้มันมีเหตุผลบ้างก็ได้ ก็เป็นคนรวยมากๆ สิคะ จ้างหมอมาหาที่บ้านเองเลยค่ะ ไปรวยมาก่อนสิคะ แต่บางหมอก็โทรตามได้นะ คิดค่าบริการเป็น ชั่วโมงรักษาเสร็จเร็ว อาจเบิ้ลได้ถ้าคนไข้ไหว จ้างหมอส่วนตัวครับรายได้หมอเดือนนึงแสนห้าอัพ ถ้าป่วยหนักจริงๆ จะรวยหรือยิ่งใหญ่แค่ไหนก็ต้องไปโรงพยาบาล **อยากให้หมอมาหา ก็ต้องหาสามีเป็นหมอค่ะ ( อันนี้ก็ขำไปอีก ) ถ้าอัตราส่วนหมอ 1 ร้อยคน ต่อ ชาวบ้าน 1 คน หมอน่าจะมาหาเราครับ แต่ถ้า อัตราส่วนยังเป็น หมอ 1 คน ต่อ ชาวบ้าน 1หมื่นคน ชาวบ้านน่าจะต้องไปหาหมอ
หลากหลายความคิดเห็น ที่ต่างอธิบายตามความเข้าใจของตัวเองแต่ข้อเท็จจริงล่ะ ? ว่ากันตามข้อเท็จจริงที่เห็นชัดเจนก่อนนะ “หมอจะมาหาคนไข้ได้อย่างไร
ในเมื่อจำนวน”หมอ” มีน้อยกว่า”คนไข้” ทุกวันนี้ หมอก็ทำงานหนักจนแทบไม่มีเวลาพัก อยู่แล้ว โดยเฉพาะ หมอประจำโรงพยาบาลที่ต่างจังหวัดหมอน้อย คนไข้เยอะ กระทบประสิทธิภาพการรักษา แต่ก็มีบางเหตุผลที่หมอจะไปเยี่ยมผู้ป่วยถึงบ้าน ตามความเห็นของผู้ที่มีประสบการณ์
ถ้าเป็นกลุ่มผู้พิการ ติดเตียงมีโครงการเยี่ยมบ้านดูแลถึงบ้านเลยค่ะ ตอนนี้มีคลินิกเยี่ยมบ้านสำหรับผู้ป่วยติดเตียงค่ะ หมอเข้าไปเยี่ยมถึงบ้านเลยค่ะ ทีมแพทย์ พอ.สว. ก็จะเดินทางไปยังพื้นที่ห่างไกล เพื่อรักษาผู้ป่วยค่ะ อยู่บ้านนอกจะมี อสม. คอยช่วยเหลือ ถ้ารู้เบอร์รู้เครือข่าย สบายใจเฉิบ
มีข้อมูลจาก คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล บอกว่า หมอ จะไปหาผู้ป่วยถึงบ้าน ต้องมีเหตุผล นั่นคือ .....ผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่นอนติดเตียง ทำให้ไม่สามารถเข้าถึงบริการที่โรงพยาบาลได้ง่ายๆ สภาพผู้ป่วยที่ช่วยเหลือตนเองไม่ได้ และมีอุปกรณ์การแพทย์ติดตัวมากมาย จำเป็นต้องได้รับการเยี่ยมบ้านจากทีมบุคลากรการแพทย์ มากกว่าผู้ป่วยทั่วไปรายอื่น ข้อสังเกตจากคำร้องขอของญาติที่ปรึกษาเรื่องเล็กน้อยในผู้ป่วยที่มีหลายโรคหนักๆ น่าสงสัยว่าญาติกำลังเริ่มรับมือไม่ได้ การไปเยี่ยมบ้านจะช่วยประเมินผู้ดูแลได้ด้วยว่ามีความลำบากในการดูแลอย่างไร
อ่านข้อมูลจาก คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล https://www.rama.mahidol.ac.th/.../pos.../writer23/article_4
แล้วประเทศอื่นๆล่ะ เค้ามีระบบการรักษาพยาบาลกันอย่างไร มีข้อมูลที่น่าสนใจจาก เว็บไซต์ Hotcourses Thailand ที่พาไปดูระบบรักษาพยาบาลจากต่างประเทศ ที่เรียกว่า Universal Healthcare ซึ่งเป็นระบบการรักษาที่ให้บริการการรักษาพยาบาลที่ประชาชน ในประเทศสามารถเข้าถึงได้ทุกคน ในหลายๆประเทศที่พัฒนาแล้ว เช่น สวีเดน อังกฤษ ออสเตรเลีย ก็ใช้ระบบนี้อยู่ แต่การใช้ระบบรักษาแบบนี้ ส่วนใหญ่รัฐบาลจะเป็นผู้ช่วยออกค่ารักษาให้ และใช้เงินจากภาษีของประชาชน ทีนี้ มาดูรายละเอียดแบบลึกๆ ของแต่ละประเทศ มีข้อดีข้อเสียอย่างไรกันบ้างอ่านรายละเอียดจากเว็บไซต์ https://www.hotcourses.in.th/.../guide-how-to-see-doctor.../
เอาละ ย้อนกลับมาเมืองไทยบ้านเรา ถ้าอยากคุยกับหมอตัวเป็นๆ แต่ไม่ต้องไปหาถึงโรงพยาบาล อยู่บ้านก็สะดวกคุยได้ แต่ มีทั้งแบบฟรี และ เสียเงินนะ เลือกเอาแล้วกัน มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค มัดรวมมาให้แล้ว
รวมแอปพลิเคชันหาหมอออนไลน์ พบแพทย์ได้ง่าย ๆ ได้ทุกที่ ทุกเวลา https://portal.dnp.go.th/Content/ict?contentId=24837**
รวมราคาปรึกษาหมอ ออนไลน์จากคลินิกและ รพ. ต่างๆ https://hdmall.co.th/health-checkup/telehealth