มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค
ให้คำปรึกษาผ่านโทรศัพท์ 02 248 3737
ให้คำปรึกษาผ่านโทรศัพท์
Consumer Thai Facebook page

< กลับไปหน้ารวมข่าว

แต้มต่อคดีแพ่ง “ พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค “

เขียนโดย: มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค

เขียนเมื่อ: 30-08-2022 17:03

หมวดหมู่: สินค้าและบริการทั่วไป

ภาพประกอบข่าว

แต้มต่อคดีแพ่ง “ พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค “

เวลาเกิดเหตุ ที่ทำให้ผู้บริโภค เป็นฝ่ายเสียหาย ทั้งชีวิต และ ทรัพย์สิน ยกตัวอย่างเช่น เหตุการณ์ไฟไหม้ สถานบันเทิง ขอย้ำเตือนให้ขึ้นใจ เวลานี้ มีกฎหมาย ที่ชื่อว่า “พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551” เป็นเครื่องมือ กำหนดภาระให้ผู้ประกอบการต้องหาทาง พิสูจน์ให้ได้ว่า ..สถานบริการของตัวเองนั้น
“ปลอดภัย ดีเลิศ “มีการป้องกันแล้ว .. เพราะหากพิสูจน์ไม่ได้ จากหลักฐานที่มัดแน่น ทั้งการก่อสร้างที่ไม่ถูกต้องตามหลักการโยธา รวมถึง ลักลอบเปิดเป็นสถานบริการ ผู้ประกอบการต้องจ่ายค่าชดเชยให้กับผู้เสียหาย เมื่อกระบวนการฟ้องร้อง ทางแพ่ง

ทำไม? ต้องมี “พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551”

นั่นเป็นเพราะว่า หากใช้ “กฎหมายปกติ” “ในกรณีมีความเสียหาย เดือดร้อน เจ็บ ตาย “ภาระพิสูจน์ตกกับผู้บริโภค( ทั้งประสบเหตุ และ ครอบครัวของเสียหาย )
ต้องเป็นฝ่ายพิสูจน์ “ให้เห็นถึง ความผิดพลาดของผู้ประกอบการ โดยต้องกระเสือกกระสน ไปหาวิธีพิสูจน์ ผู้ประกอบการ ทำอะไร ยังไง ถึงทำให้เกิด เพลิงไหม้ ประมาท หรือ ไม่ประมาท อย่างไร จนทำให้บาดเจ็บ ล้มตาย ถึงจะได้รับการชดใช้ทางแพ่ง ทว่า เมื่อมี “พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 ได้ยกภาระพิสูจน์ให้ตกกับผู้ประกอบการ

“พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551” เกิดขึ้นมาได้ เพราะ สำนักงานศาลยุติธรรม ประกาศใช้เป็นกฎหมาย พอกฎหมายมีผลใช้บังคับหมาดๆ ก็เกิดคดีไฟไหม้ ซานติก้า ผับ ในคืนส่งท้ายปีเก่า 2551 ต้อนรับปีใหม่ 2552 ทำให้เห็นช่องทาง สร้างแต้มต่อให้ผู้บริโภคมากมาย จึงถือโอกาส ทดสอบกฎหมาย แล้วก็ได้ผลสัมฤทธิ์อย่างดียิ่ง เพราะผู้บริโภค ชนะคดี ฟ้องแพ่ง

มาสรุป “แต้มต่อ” มากมายหลายประการ ของ “พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551”

แต้มต่อ ข้อที่ 1

ภาระพิสูจน์ ตกเป็นหน้าที่ของ ผู้ประกอบการ การที่ลูกค้า บาดเจ็บ ล้มตาย ต้องพิสูจน์ให้ได้ว่า ..ได้สร้างความปลอดภัยอย่างดีเลิศ ให้กับ ผู้ใช้บริการ ( แต่ส่วนมากพิสูจน์ไม่ได้ )

แต้มต่อ ข้อที่ 2

ผู้บริโภคไม่ต้องเสียเงินค่าขึ้นศาลแพ่ง ( เพราะหากขึ้นศาลปกติ จะต้องจ่ายค่าขึ้นศาลร้อยละ 2 ของมูลค่าความเสียหาย ที่เรียกเอาจากผู้ประกอบการ
ถ้าคิดเป็นตัวอย่างง่ายๆ หากเรียกค่าเสียหาย 1 ล้านบาท ต้องจ่ายค่าขึ้นศาล 2 หมื่นบาท ยิ่งมูลค่าเรียกค่าเสียหายมากเท่าไหร่ ค่าขึ้นศาล ก็มากเป็นเงาตามตัว )

แต้มต่อ ข้อที่ 3

ผู้บริโภค ไม่ต้องจ่ายค่าทนายความ และ ไม่ต้องจ้างทนายส่วนตัว หากผู้เสียหาย มีปัญหา ทางด้านการเงิน เพราะ มีเจ้าหน้าที่ศาล ซึ่งทำหน้าที่ ตาม “พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 มาช่วยรับฟ้อง ผู้บริโภค มีหน้าที่แค่ เล่าข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น สามารถไป ยื่นเรื่อง ได้ที่ ศาลแพ่ง ( ทุกจังหวัดทั่วประเทศ แล้วแต่ว่า เกิดเหตุที่ไหน อยู่ในอำนาจของ ศาลไหน )
จะมีแผนกผู้บริโภค คอยช่วยเหลือ อย่างเช่น เหตุล่าสุด ใหญ่ไฟไหม้ Mountain Bที่สัตหีบ 2565 เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม สามารถใช้ได้เลย เข้าองค์ประกอบ “พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551” แน่นอน เพราะเป็นความเสียหาย ระหว่างผู้ให้บริการ กับ ผู้บริโภค อย่างชัดเจน

เครดิต คุณชัยรัตน์ แสงอรุณ ที่ปรึกษามูลนิธิเพื่อผู้บริโภคด้านกฎหมาย


ปรึกษา ร้องเรียน
สอบถามเพิ่มเติม