มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค
ให้คำปรึกษาผ่านโทรศัพท์ 02 248 3737
ให้คำปรึกษาผ่านโทรศัพท์
Consumer Thai Facebook page

< กลับไปหน้ารวมข่าว

ปีใหม่ต้องหยุดเทศกาลแห่งความตาย!

เขียนโดย: มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค

เขียนเมื่อ: 26-12-2024 13:05

หมวดหมู่: บริการขนส่งและยานพาหนะ

ภาพประกอบข่าว

festival of Happy New Year อย่าให้กลายเป็น festival of death เทศกาลแห่งความตาย

สวัสดีปีใหม่68 "รู้ทันสิทธิ์เมื่อเจ็บ-ตายจากอุบัติเหตุบนนท้องถนน!

festival of Happy New Year งานเฉลิมฉลองเทศกาลแห่งความสุขปีใหม่ อย่าให้กลายเป็น festival of death เทศกาลแห่งความตาย พวกเราต้องช่วยกันหยุดอุบัติเหตุบนท้องถนน ประเภทเมาแล้วขับ เมาแล้วซิ่ง หยุดทีเถอะ! ถ้าพวกคุณเจ็บ-พิการ หรือถึงตาย ถ้าไปคนเดียวก็คงไม่มีใครว่าอะไรหรอก แต่นี่มันท้องถนนหลวงไง! อย่าทำให้คนอื่นที่ร่วมใช้เส้นทางต้องพลอยเดือดร้อนไปด้วย !

ทำไม ? การเตือนเรื่องเมาแล้วอย่าขับ แล้วทำไมคนไม่เชื่อ! เห็นเตือนกันทุกวัน ทุกเทศกาล แล้วทำไมคนยังทำกันอยู่อีก ทั้งๆ ที่ก็มีตัวอย่างให้เห็นว่ามีคนตายจากการเมาแล้วขับทุกๆ ปี ทุกๆ วัน ที่สำคัญยังทำให้คนอื่นพาลเดือดร้อนโดนลูกหลงไปด้วย

มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ไปเก็บความคิดเห็นจากบรรดาชาวเน็ต เขาให้ความเห็นที่น่าสนใจ ลองอ่านกันดู

-เพราะคนเมาขาดสติ ทำให้ไม่มีปัญญาคิดว่ามันอันตราย

-ไอ้ที่ประมาทแล้วตัวเองเจ็บไม่เป็นไร แต่ประมาทแล้วมาทำให้คนอื่นเจ็บพวกนี้แหละ

-น่าจะเพราะบทกำหนดโทษ หรือการบังคับใช้กฏหมายมันเบาไป จึงไม่ค่อยมีคนเกรงกลัวและฝ่าฝืนบ่อยๆ ถ้าแก้กฏหมายให้ลงโทษหนักขึ้น เช่นจำคุกตั้งแต่สิบปีขึ้นไปไม่เกินยี่สิบปี และปรับสองแสนบาท แบบนี้ น่าจะทำให้เกิดความเกรงกลัวกฎหมายกันเพิ่มมากขึ้น

-พื้นฐานความรับผิดชอบต่อสังคมมันไม่มี เราไม่ได้สอนจริงจังแต่เด็กๆ โตมาเลยเป็นแบบนี้

-ที่ญี่ปุ่นการเมาแล้วขับไม่ใช่มีบทลงโทษแค่ทางกฎหมายแต่มีผลถึงบริษัทที่คุณทำงานอยู่ เขาสามารถไล่คุณออกได้หาก "ดื่มแล้วขับ" ดังนั้นบทลงโทษรุนแรงกว่า คนจึงกลัวความผิดมาก ที่สำคัญเขารณรงค์ "ดื่ม--- ไม่ขับ" มากกว่า คือแค่ดื่ม 1 แก้วก็ห้ามขับรถเด็ดขาด แต่เมืองไทยกลับรณรงค์ "เมาไม่ขับ" แล้วบางคนมันก็ไม่ยอมรับว่ามันเมา มันก็ขับไปทำชาวบ้านตาย เดือดร้อนอีก

-ความปลอดภัยทางถนนอีกอย่างหนึ่งของไทย คือ การบังคับใช้กฎหมาย “ปัญหาหลักเรื่องนี้ของไทยเรา มี 2 ด้าน ทั้งผู้บังคับใช้กฎหมายใช่ช่องโหว่ของกฎหมายทำทุจริตหรือแสวงหาประโยชน์ และผู้ใช้รถใช้ถนน ก็ไม่ปฏิบัติตามกฎหมายเช่นกัน ส่วนใหญ่ เรามักจะโฟกัสกันเฉพาะช่วงเทศกาล แต่จริงๆ แล้ว จากสถิติการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนในบ้านเรานั้น ค่อนข้างสูงทุกวัน ความหมายมันชัดเจนในตัวอยู่แล้ว คำถาม เป็นเพราะรัฐพยายามไม่มากพอ หรือติดกับดักอะไร?

เอาจริงช่วงเฝ้าระวัง 7 อันตรายปีใหม่ตามที่รัฐบาลกำหนดไว้ทุกๆ มันไร้ผล เพราะช่วง7วันอันตราย ตั้งแต่ 29 ธ.ค.66 – 4 ม.ค.67 มีผู้คนเจ็บ-ตายกันเป็นใบไม้ร่วงจากตัวการเมาแล้วขับ เมาแล้วแว้น มีอุบัติเหตุ 2,288 ครั้ง, บาดเจ็บ 2,307 คน และเสียชีวิต 284 คน รัฐบาลจึงตั้งใจให้สถิติในช่วงปีใหม่ 2568 ลดลง

จากเหตุนี้ ทำให้ที่ประชุมนโยบายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แห่งชาติ ที่มีนายประเสริฐ จันทรรวงทอง รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เป็นประธาน เมื่อ19 ธ.ค.67 ได้ประกาศเฝ้าระวังอันตรายเพิ่มเป็น10วัน ตั้งแต่ 27 ธ.ค. 2567- 5 ม.ค. 2568 กำชับตั้งด่านชุมชนเพิ่ม รณรงค์ดื่มอยู่บ้านลดอุบัติเหตุ

“เหยื่อ”ตาย-เจ็บจากอุบัติเหตุทางถนน ช่วยหยุดมันที!ปีใหม่ มันคือ festival of death จริงๆ นะ ทุกๆปีก็วนกลับมาพูดถึงกันเรื่องตัวเลขว่าเพิ่มขึ้นหรือลดลง โดยมิได้วิเคราะห์ปรากฏการณ์กันจริงจังเพื่อหาทางแก้ไขปัญหาในช่วงเวลาต่อไป มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ขอส่งเสียงดังๆไปถึงทุกฝ่าย "การรณรงค์ลดอุบัติเหตุ อย่าจริงจังแค่เฉพาะแค่ช่วงเทศกาล แต่มันต้องเป็นมาตรการที่จริงจังของทุกวัน"

มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ เครือข่ายลดอุบัติเหตุ ภาคีต่างๆ จึงได้ร่วมกันยกร่างสิทธิผู้ใช้บริการรถโดยสารสาธารณะขึ้น 10 ประการ ได้แก่

1.สิทธิ ที่จะได้รับข้อมูลข่าวสาร รวม ทั้งคำพรรณาคุณภาพเกี่ยวกับบริการรถโดยสาร รวมทั้งความคุ้มครองตามกรมธรรม์ประกันภัยที่ถูกต้องเป็นจริง ครบถ้วน

2.สิทธิที่จะได้รับความเป็นธรรมในด้านสัญญา และราคาค่าบริการ

3.สิทธิในการเลือกใช้บริการรถโดยสารด้วยความสมัครใจ และปราศจากการชักจูงอันไม่เป็นธรรม

4.สิทธิที่จะได้รับความปลอดภัยในทุกๆด้านจากการใช้บริการรถโดยสาร

5.สิทธิที่จะได้รับการบริการจากรถโดยสารและผู้ให้บริการที่มีคุณภาพมาตรฐาน

6.สิทธิ ในการร้องเรียน หรือฟ้องร้องเพื่อให้ผู้ให้บริการหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการแก้ไข ปัญหา เยียวยา หรือชดใช้ความเสียหายที่เกิดขึ้น

7.สิทธิที่จะได้รับการชดใช้ความเสียหายทั้งทางร่างกาย อนามัย เสรีภาพ ทรัพย์สิน หรือสิทธิอื่นๆที่ถูกละเมิด

8.สิทธิที่จะได้รับการชดใช้ความเสียหายจากการประกันภัยโดยไม่มีการประวิงเวลา หรือบังคับให้ประนีประนอมยอมความ

9.สิทธิที่จะได้รับการชดใช้ความเสียหายด้วยหลักแห่งพฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิด

10.สิทธิที่จะรวมตัวกันเพื่อพิทักษ์สิทธิของตนและผู้อื่น

ดังนั้น เมื่อเกิดอุบัติเหตุจากการโดยสารรถสาธารณะ หากมีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจากอุบัติเหตุทางถนน ผู้บริโภคมีสิทธิ์ได้รับการชดเชยเยียวยาตามกฏหมาย สามารถฟ้องร้องในชั้นศาลได้ อ่านต่อ https://ffcthailand.org/news/burningfirevan

ลาทีปีเก่า 2567 มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ขอร่วมต้อนรับปีใหม่2568 ส่งความสุขถึงผู้บริโภคทุกท่าน สิ่งดีๆ จงมา จงมา จงมา เพี้ยง!


ปรึกษา ร้องเรียน
สอบถามเพิ่มเติม