เคลมประกันแพ้วัคซีนโควิด-19ไม่ได้
หมวดหมู่: บริการสุขภาพ
เป้าหมายของคำแนะนำนี้
แนะนำขั้นตอนการเคลมประกัน, สิทธิของผู้ทำประกัน, วิธีการเรียกร้องให้ผู้รับประกันปฏิบัติตามสัญญา
คำแนะนำ
เอกสารต้องใช้สำหรับการยื่นเคลมประกัน
1.ใบรับรองแพทย์ หรือใบความเห็นแพทย์ ระบุว่าติดเชื้อ COVID19 หรือ เอกสารการตรวจด้วยวิธี RT-PCR แสดงว่าติดเชื้อจริง
2.ผลตรวจ ผล Lab ที่ระบุผลว่าติดเชื้อ COVID19
3.สำเนาบัตรประชาชน พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง หรือสำเนาหนังสือเดินทาง (ชาวต่างชาติ)
4.สำเนาทะเบียนบ้าน พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง
4.สำเนาสมุดบัญชีธนาคาร (หน้าบุ๊คแบงก์) พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง
5.เบอร์โทรศัพท์มือถือ
6.อีเมล์ของผู้ทำประกันภัย
7.ใบมรณะบัตร (กรณีผู้เอาประกันภัยเสียชีวิต)
กรณีเคลมประกันไม่ได้ เนื่องจากถูกอ้างว่าการเสียชีวิตไม่ได้เกิดจากไวรัสโควิด-19
กรณีเสียชีวิตจากการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 บริษัทผู้รับประกันต้องจ่ายตามความคุ้มครองที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ โดยให้ผู้เอาประกันยื่นเอกสาร ดังนี้
- สำเนาใบมรณะบัตรที่ระบุโรค
- พร้อมผลการตรวจโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19
เพื่อให้บริษัทผู้เอาประการทราบถึงสาเหตุการเสียชีวิต และ
มีการออกคำสั่งนายทะเบียนที่ 45/2564 เรื่อง การใช้เอกสารประกอบการจ่ายผลประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันภัยโควิด-19 สำหรับบริษัทประกันชีวิต และคำสั่งนายทะเบียนที่ 46/2564 เรื่อง การใช้เอกสารประกอบการจ่ายผลประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันภัย COVID-19 สำหรับบริษัทประกันวินาศภัย ได้กำหนดให้บริษัทประกันภัยใช้เอกสารการตรวจพบเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ซึ่งสามารถยืนยันตัวตนของผู้ที่ได้รับการตรวจหาเชื้อได้ จากห้องปฏิบัติการที่ผ่านการรับรองจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ โดยวิธี RT-PCR แทนใบรายงานหรือรับรองจากแพทย์ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน และคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของผู้เอาประกัน
กรณีเคลมประกันไม่ได้ เนื่องจากแพ้วัคซีน
แพ้วัคซีนโควิด-19 สำหรับกรณีที่รัฐจัดให้โดยสมัครใจ
หากรับวัคซีนแล้วมีอาการแพ้ อาการไม่พึงประสงค์ หรือมีผลข้างเคียง สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) มีกลไกการจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้น
โดยมีมติเห็นชอบการจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นสำหรับผู้ที่ได้รับความเสียหายจากการรับวัคซีนป้องกันโควิด-19 ครอบคลุมคนไทยทุกกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็นผู้ใช้สิทธิบัตรทอง ประกันสังคมหรือสวัสดิการข้าราชการ โดยแบ่งออกเป็น 3 กรณี
- เสียชีวิตหรือทุพพลภาพอย่างถาวร หรือเจ็บป่วยเรื้อรังที่ต้องได้รับการรักษาตลอดชีวิต และมีผลกระทบอย่างรุนแรงต่อการดำรงชีวิต จ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นได้ในอัตราไม่เกิน 400,000 บาท
- สูญเสียอวัยวะหรือพิการที่มีผลกระทบต่อการดำเนินชีวิต จ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นได้ ในอัตราไม่เกิน 240,000 บาท
- บาดเจ็บหรือเจ็บป่วยต่อเนื่องจากการได้รับวัคซีน โดยมีความเห็นของแพทย์ผู้ตรวจรักษา ประกอบด้วย จ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นได้ในอัตราไม่เกิน 100,000 บาท
ทั้งนี้ เงินช่วยเหลือที่คุ้มครองความเสียหายนี้ สปสช. จะวางขั้นตอนเพื่อให้สามารถจ่ายได้ภายใน 5 วัน หลังจากคณะกรรมการได้รับเรื่อง
เงื่อนไขในการจ่ายเงินช่วยเหลือ
- วัคซีนที่ฉีดต้องเป็นวัคซีนตามแผนงานโครงการที่รัฐจัดให้ฟรี
- ครอบคลุมความเสียหายที่เกิดจากเหตุสุดวิสัยจากการรับวัคซีนที่ฉีดโดยไม่มีค่าใช้จ่ายจากรัฐ
- ไม่รวมวัคซีนทางเลือกที่ให้บริการโดยโรงพยาบาลเอกชน ซึ่งมีการเรียกเก็บค่าใช้จ่าย
เอกสารหลักฐานที่ต้องเตรียม
- เอกสารรับรองบริการฉีดวัคซีนของผู้ที่ได้รับความเสียหาย (เอกสารบันทึก ชื่อ – สกุล วันที่รับวัคซีน สำเนาบัตรประชาชน)
- ใบคำร้องที่ผู้เสียหายต้องเขียนรายละเอียด (บรรยายว่าไปรับวัคซีนที่ใด เวลาใด เล่าเหตุการณ์ที่รับวัคซีน และอาการที่เกิดขึ้นหลังจากรับวัคซีน)
สามารถยื่นคำร้องขอรับเงินช่วยเหลือเบื้องต้นได้ที่
- โรงพยาบาลที่ไปรับการฉีด
- สำนักงานสาธารณะสุขจังหวัด (สสจ.)
- สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ประจำเขต
ทั้ง 3 หน่วยงานจะส่งเรื่องไปยังคณะอนุกรรมการเขต เมื่ออนุกรรมการระดับเขตได้รับเรื่องก็จะรีบพิจารณา เพื่อดำเนินการจ่ายค่าชดเชยภายใน 5 วันทำการ นับตั้งแต่วันที่อนุกรรมการฯ ได้รับเรื่อง
แพ้วัคซีนโควิด-19 สำหรับกรณีที่จ่ายเงินซื้อประกันเอง
เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ระบุว่า คปภ. ได้ออกคำสั่ง 2 ฉบับ กำหนดให้กรมธรรม์ประกันภัยแพ้วัคซีนโควิด-19 คุ้มครองไปถึงกรณีฉีดวัคซีนโควิด-19 ในจุดบริการนอกโรงพยาบาลด้วย ได้แก่
- คำสั่งนายทะเบียนที่ 26/2564 เรื่อง การให้ความคุ้มครองกรณีได้รับผลกระทบจากการฉีดวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ตามกรมธรรม์ประกันภัยหรือสัญญาเพิ่มเติม สําหรับบริษัทประกันชีวิต
- คำสั่งนายทะเบียนที่ 27/2564 เรื่อง การให้ความคุ้มครองกรณีได้รับผลกระทบจากการฉีดวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ตามกรมธรรม์ประกันภัยหรือเอกสารแนบท้าย สําหรับบริษัทประกันวินาศภัย
ซึ่งคำสั่งนายทะเบียนทั้ง 2 ฉบับดังกล่าว กำหนดให้บริษัทประกันภัยให้ความคุ้มครองผลกระทบจากการฉีดวัคซีนโควิด-19 ที่กระทำการโดยแพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรที่ได้รับการอนุญาตอย่างถูกต้องตามกฎหมายแห่งราชอาณาจักรไทย ไม่ว่าจะดําเนินการ ณ สถานที่ใดก็ตาม ผู้เอาประกันภัยจะยังได้รับความคุ้มครองตามเงื่อนไขของกรมธรรม์ประกันภัย เช่นเดียวกับการฉีดวัคซีนในโรงพยาบาลทั่วไป
เอกสารประกอบการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนประกันภัย ASIA-VAC
1.แบบฟอร์มการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน (ของแต่ละบริษัทประกันภัยที่รับประกัน แพ้วัคซีน)
2.ใบนัดฉีดวัคซีน
3.ใบรับรองแพทย์ฉบับจริงที่แสดงผลการวินิจฉัย ระบุอาการสำคัญ และการรักษาพยาบาล พร้อมประทับตราโรงพยาบาล
4.แฟ้มประวัติการตรวจรักษาพยาบาล หรือ Discharge Summary (รับรองเอกสารถูกต้องพร้อมประทับตราโรงพยาบาล)
5.สำเนาบัตรประชาชนผู้เอาประกันภัย (รับรองสำเนาถูกต้อง)
6.เอกสารอื่น ๆ ตามความจำเป็น (ถ้ามี)
7.เอกสารเพิ่มเติมการเบิกค่าสินไหมทดแทน -ภาวะโคม่า
8.สำเนาบัตรประชาชนผู้รับผลประโยชน์ (รับร้องสำเนาถูกต้อง)
9.สำเนาหน้าบัญชีของผู้รับผลประโยชน์ (รับรองสำเนาถูกต้อง)
ขั้นตอนการส่งเอกสารเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน ประกันการแพ้วัคซีน
1.กรอกแบบฟอร์มเรียกร้องค่าสินไหม
2.รวบรวมเอกสารฟอร์มและเอกสารประกอบตามรายละเอียดที่กำหนดข้างต้น
3.จัดส่งเอกสารตามที่อยู่ของบริษัทประกันภัย
คำแนะนำนี้ช่วยเหลือท่านได้มากน้อยแค่ไหน?